วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อีกครั้ง...กับชีวิตใหม่



นอนกรน

          ชีวิตคนเราล้วนไม่มีอะไรแน่นอน “อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ” ความจริงข้อนี้ทุกคนต่างเข้าใจกันดี เช่นเดียวกับในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตเราอาจได้พบ หรือประสบเกี่ยวกับเรื่องภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งก็คงเป็นสิ่งที่มีค่ามากแล้ว แต่คงจะดีที่สุด ถ้าการกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ได้ทั้งหัวใจที่เต้นดังเดิม และสมองที่ยังคงทำงานได้ตามปกติ มิได้ฟื้นขึ้นมามีเพียงร่างที่ยังหายใจ แต่ไร้การควบคุมจากสมอง ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ดังเดิม เพราะนั่นก็คงเหมือนชีวิตกลับคืนมาเพียงครึ่งเดียว

          การลดอุณหภูมิของร่างกาย (Hypothermia) แนวทางการรักษาเพื่อกอบกู้สมองหลังเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับเซลล์สมอง เนื่องจากถ้าเมื่อใดก็ตามที่สมองของคนเราขาดเลือดไปเลี้ยง จะส่งผลให้เซลล์สมองตายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

          ดังนั้นเมื่อคนเราเกิดมีภาวะหัวใจหยุดเต้นขึ้นมาและต้องปั้มหัวใจช่วยชีวิต นั่นก็หมายความว่า ในระหว่างนั้นสมองก็จะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ปัจจุบันเราจึงมีวิธีรักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำกว่าปกติ เพื่อช่วยให้สมองที่ได้รับอันตรายกลับคืนมา ซึ่งถือว่าสำคัญมากสำหรับชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมากเลยทีเดียว

          ดังนั้นเมื่อคนเราเกิดมีภาวะหัวใจหยุดเต้นขึ้นมาและต้องปั้มหัวใจช่วยชีวิต นั่นก็หมายความว่า ในระหว่างนั้นสมองก็จะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ปัจจุบันเราจึงมีวิธีรักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำกว่าปกติ เพื่อช่วยให้สมองที่ได้รับอันตรายกลับคืนมา ซึ่งถือว่าสำคัญมากสำหรับชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมากเลยทีเดียว

การรักษาด้วยวิธีการลดอุณหภูมิของร่างกาย

          สำหรับการรักษาด้วยวิธีการลดอุณหภูมิของร่างกาย (Therapeutic Hypothermia) นอกเหนือจากรักษาในกรณีของผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นแล้ว ยังสามารถใช้รักษากับผู้ที่ปัญหาของโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน สมองบวมได้อีกด้วย ซึ่งการพิจารณารักษาด้วยการลดอุณหภูมิเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ เพื่อความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

          ภายหลังจากสามารถช่วยชีวิตเรียบร้อยและทุกอย่างพร้อม แพทย์จะเริ่มขั้นตอนลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำกว่าปกติอยู่ที่อุณหภูมิแกนกลางประมาณ 33 องศาเซลเซียส และควบคุมให้คงที่ตลอดเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง โดยก่อนการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะต้องประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดผลแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น โอกาสการติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด เป็นต้น รวมทั้งเตรียมป้องกันอาการร่วมบางอย่าง เช่น อาการหนาวสั่น เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลตอบสนองที่ดีต่อการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิ และหลังจากควบคุมอุณหภูมิได้ตามระยะเวลาที่กำหนด จะดำเนินการปรับสภาพร่างกายของคนไข้ให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ โดยตลอดขั้นตอนการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ซึ่งในช่วงที่ทำการรักษา

          อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบถึงข้อมูลสุขภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับการช่วยชีวิต ว่าการปั้มหัวใจช่วยผู้ที่หัวใจหยุดเต้นและฟื้นคืนมาไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่ต้องรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในทันที เพื่อส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำรักษาต่อด้วยการลดอุณหภูมิ เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับฟื้นคืนชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่มีแค่เพียงร่างที่ยังหายใจอยู่ได้เท่านั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น