วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Les verbes pronominaux

Les verbes pronominaux 
    Les verbes pronominaux คือคำกริยาที่ต้องใช้ประกอบกับสรรพนาม (pronom personnel) บุรุษเดียวกันกับ
          สรรพนามที่เป็นประธาน
présent
             Je me lève
             Tu te lèves
             Il/Elle/On se lève
             Nous nous levons
             Vous vous levez
             Ils/Elles se lèvent
    ในประโยคอดีตกาล (temps composés) เช่น passé composé และ plus-que-parfait เราใช้กริยาช่วย "être"
passé composé
 
plus-que-parfait
                Je me suis levé(e)
                Tu t' es levé(e)
                Il s' est levé
                Elle s' est levée
                Nous nous sommes levé(s)(es)
                Vous vous êtes levé(e)(s)(es)
                Ils se sont levés
                Elles se sont levées

                Je m' étais levé(e)
                Tu t' étais levé(e)
                Il s' était levé
                Elle s' était levée
                Nous nous étions levé(s)(es)
                Vous vous étiez levé(e)(s)(es)
                Ils s' étaient levés
                Elles s' étaient levées

    participe passé ต้องทำ accord กับประธานด้วย ยกเว้น ...
       1. เมื่อมีคำนามที่เป็นกรรมตรงตามมา
           - Elle s' est lavée. (accord) (หล่อนอาบนํ้า)         
           - Elle s' est lavé les cheveux.(ไม่ accord(หล่อนสระผม)
       2. เมื่อสรรพนามในประโยคเป็นกรรมรอง
           - Elles se sont téléphoné(téléphoner à) (พวกหล่อนโทรศัพท์ถึงกัน)
    สังเกต ตำแหน่งของสรรพนามในประโยคคำสั่ง : [ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังกริยา และ "te" => "toi"]
คำสั่งบอกเล่า(affirmatif)
 
คำสั่งปฎิเสธ(gatif)
               Lève-toi
               Levez-vous
               Levons-nous
               Ne te lève pas
               Ne vous levez pas
               Ne nous levons pas
    เมื่อกริยา pronominal อยู่ในรูป infinitif สรรพนามที่ใช้ต้องเป็นบุรุษเดียวกันกับประธานของกริยาตัวแรก
       - J' aime me promener.
       - Tu vas t' amuser avec tes copains ?
       - Vous pouvez vous reposer maintenant.
    ในประโยคปฎิเสธ ส่วนประกอบในการปฎิเสธส่วนแรก "ne" จะอยู่หน้าสรรพนามและกริยา
        ตามด้วยส่วนประกอบในการปฎิเสธส่วนที่สอง
       - Ils ne se connaissent pas !                                                            [คลิ๊กที่นี่...เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งของคำสรรพนาม]
   ความหมายและการใช้ :
    1. ใช้ในความหมายที่ประธานกระทำกริยาเพื่อหรือต่อตัวประธานเอง (réfléchi)
        - Je lave la voiture. (ฉันล้างรถ)
        - Je me lave. (ฉันอาบนํ้า)
        - Elle regarde les gens qui passent. (หล่อนมองดูผู้คนที่ผ่านไปมา)
        - Elle se regarde dans la glace. (หล่อนมองดูตัวเองในกระจก)
    2. ใช้ในความหมายที่ประธานทั้งสองหรือมากกว่ากระทำกริยาต่อกันและกัน (réciproque) รูปทีใช้จึงต้องเป็นรูปพหูพจน์เสมอ
        - Nous nous connaissons depuis longtemps. (เรารู้จักกันมานานแล้ว)
        - Jean-Pierre et Odette s' aiment beaucoup. (ชอง-ปิแอร์กับโอแดตรักกันมาก)
    3. มีคำกริยาจำนวนหนึ่งที่มีรูปเป็น pronominal เสมอโดยไม่ได้มีความหมายทั้ง"สะท้อนเข้าสู่ประธานเอง" หรือ
        "ซึ่งกันและกัน" คำกริยาเหล่านี้ได้แก่ : s' en aller, se souvenir, s' occuper, s' évanouir, se méfier ...
        - Bon, je dois m' en aller ! (ฉันต้องไปแล้ว !)
        - Elle s' occupe bien du ménage. (หล่อนดูแลงานบ้านดี)
        - Je me souviens encore de mon enfance. (ฉันยังคงจำวัยเด็กของฉันได้)
    4. บางครั้งโดยเฉพาะกับคำนามที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เรานิยมใช้ในความหมายใกล้เคียงกับรูป "passif"
        - Ces livres se vendent très bien. (หนังสือเหล่านี้ขายดีมาก) 
        - Comment ça s' écrit votre nom ? (นามสกุลของคุณเขียนอย่างไร)
        - Ces gestes, ça ne se fait pas chez nous ! (อากัปกริยาเช่นนี้ทีบ้านเราเขาไม่ทำกัน)
        - Ça ne se dit pas en public. (สิ่งนี้เขาไม่พูดกันในที่สาธารณะ)
    คำกริยาบางคำเปลี่ยนความหมายไปเมื่ออยู่ในรูป pronominal :
       - Trouver       : Comment est-ce que tu trouves ma nouvelle voiture ? (เธอเห็นรถคันใหม่ของฉันเป็นอย่างไรบ้าง)
       - Se trouver  : Où se trouve l' école Rachiniebourana ? (โรงเรียนราชินีบูรณะตั้งอยู่ที่ไหน)
       - Passer       : Nous avons passé un moment agréable ensemble. (เราใช้เวลาอย่างมีความสุขด้วยกัน)
       - Se passer : Qu' est-ce qui se passe ? (เกิดอะไรขึ้น!)
       - Apercevoir  : J' ai aperçu ton frère devant le cinéma hier. (ฉันเห็นพี่ชายเธอไวๆที่หน้าโรงภาพยนตร์เมื่อวานนี้)
       - S' apercevoir : Je me suis aperçu de mon erreur ! (ฉันตระหนักถึงข้อผิดพลาดของฉัน)
       .....
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น