Le passif (la forme passive) 

La forme passive คือ รูปประโยคที่ประธานมิได้เป็นผู้กระทำของกริยา แต่เป็นผู้ถูกกระทำ หรือ พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ ในประโยค passif มากกว่าจะเน้นประธาน (ขณะที่ในประโยค actif ความหมายจะเน้นที่ประธานผู้กระทำ)

Actif :
|
sujet + verbe + objet (direct)
|

Passif :
|
objet + être + participe passé (+ par + sujet)
|

1. นำกรรมตรงของ actif มาเป็น ประธานของประโยค passif แล้วนำประธานของประโยค actif ไปไว้แทนที่กรรมตรง เป็นส่วนขยายของประโยค passif
โดยใส่ "par" นำหน้า (ทางไวยกรณ์เรียกคำนามที่ถูกนำหน้าด้วย par ว่าเป็น complément d'agent) แต่ถ้าเป็นกริยาเกี่ยวกับ ความรู้สึกทางจิตใจ
หรือ ท่าที ทัศนคติ จะใช้ "de" แทน
2. เติมกริยาช่วย "être" ซึ่งต้องผันให้ตรงกับกาลเดิมของกริยาในประโยค actif
3. นำกริยาแท้ของ actif มาเปลี่ยนเป็นรูป participe passé แล้วไว้หลังกริยาช่วย "être" (participe passé ต้องสอดคล้องกับ
เพศและพจน์ของประธานในประโยค passif เสมอ)
Actif
|
Passif
|
Temps
| |
• La secrétaire envoie la lettre. | ![]() | La lettre est envoyée par la secretaire. | [présent] |
• La secrétaire va envoyer la lettre. | ![]() | La lettre va être envoyée par la secretaire. | [futur proche] |
• La secrétaire enverra la lettre. | ![]() | La lettre sera envoyée par la secretaire. | [futur simple] |
• La secrétaire aura envoyé la lettre. | ![]() | La lettre aura été envoyée par la secretaire. | [futur antérieur] |
• La secrétaire envoyait la lettre. | ![]() | La lettre était envoyée par la secretaire. | [imparfait] |
• La secrétaire vient d'envoyer la lettre. | ![]() | La lettre vient d'être envoyée par la secretaire. | [passé récent] |
• La secrétaire a envoyé la lettre. | ![]() | La lettre a été envoyée par la secretaire. | [passé composé] |
• La secrétaire avait envoyé la lettre. | ![]() | La lettre avait été envoyée par la secretaire. | [plus-que-parfait] |
• La secrétaire enverrait la lettre. | ![]() | La lettre serait envoyée par la secretaire. | [conditionnel présent] |
• Il faut que la secrétaire envoie la lettre. | ![]() | Il faut que la lettre soit envoyée par la secretaire. | [subjonctif] |

1. กับ verbes : devoir, pouvoir, sembler, paraître การเปลี่ยนแปลงจะทำที่ infinitif :
- Ils devront présenter leur projet bientôt.

2. ถ้าประธานของประโยค actif เป็น "On" เมื่อเปลี่ยนเป็น passif ให้ตัด On ออก ไม่ต้องใส่ par on :
- On va construire un autre pont sur le fleuve Mékong.

[เขาจะสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าโขงอีกแห่ง]

3. โดยทั่วไปเราจะไม่ใช้ บุรุษสรรพนาม (pronom personnel) ตามหลัง "par" :
- Elle a fait ce gâteau.


4. ในกรณีที่กรรมของคำกริยาเป็น กรรมรอง เราจะทำเป็นรูป passif ไม่ได้ ... เราจะต้องใช้รูป actif :
- On a offert des cadeaux à Violaine pour ses vingt ans.

(แต่ : Des cadeaux ont été offerts à Violaine. ใช้ได้เพราะ des cadeaux เป็นกรรมตรงของกริยา offrir)
5. กับคำกริยาต่อไปนี้เราต้องใช้ "de" แทน "par" :
• คำกริยาที่แสดงถึงความรู้สึก (sentiment) หรือทรรศนคติท่าที (attitude) : aimer, adorer, détester, haïr, estimer, respecter, admirer, :
- Le Roi Phoumiphon est aimé de tout son peuple. [พระมหากษัตริย์ภูมิพลทรงเป็นที่รักของประชาชนของพระองค์ทุกคน]
- Cet homme est respecté de tous. [ชายคนนี้เป็นที่เคารพของทุกๆคน]
• คำกริยา : connaître, accompagner (ใช้ได้กับ par และ de), suivre, oublier, ignorer.
- Cette femme est connue de tout le quartier. [ผู้หญิงคนนี้เป็นที่รู้จักกันทั้งย่าน]
• คำกริยาบางคำที่ใช้ในการบรรยายสภาพ : être couvert , être rempli, être orné, être garni, être décoré, être composé,
être entouré, être bordé, .. : [ถ้าตามด้วยคำนามที่ไม่เจาจงหรือนับไม่ได้ จะไม่มี article นำหน้าคำนาม]
- La terre est couverte de neige. [พื้นดินปกคลุมไปด้วยหิมะ]
- Le panier est rempli de fruits. [ตะกร้าเต็มไปด้วยผลไม้]

1. เมื่อต้องการเน้นสิ่งที่ถูกกระทำ มากกว่าผู้กระทำ ในกรณีเช่นนี้มักจะเกี่ยวกับการบรรยายสภาพ หรือ เหตุการณ์ :
- Louis Pasteur a inventé la pasteurisation en 1865.

[หลุยส์ ปาสเตอร์ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในปี 1865]

- La maison est entièrement repeinte en blanc. [บ้านทั้งหลังถูกทาสีใหม่เป็นสีขาว]
- Une loi a été votée. [กฎหมายฉบับหนึ่งได้รับการออกเสียงลงมติ]
- Un anfant a été mordu par ce chien méchant. [เด็กคนหนึ่งถูกหมาดุตัวนี้กัด]
2. ใช้แทนสรรพนาม "on" เมื่อเราไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ :
- On a volé son vélo entre 10 heures et midi.

[มีคนขโมยจักรยานของเขาช่วงเวลาระหว่าง 10 โมง ถึงเที่ยง]

3. เราใช้กริยารูป pronominal ในความหมายเป็น passif ได้ด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประธานของประโยคมักจะเป็นสิ่งของหรือสิ่งไม่มีชีวิต :
- L'anglais se parle dans le monde entier.

- Ces fleurs se vendent très bien.

• ในบางความหมายเรานิยมใช้รูป pronominal มากกว่า passif :
- S'embrasser en public, cela ne se fait pas en Thaïlande.

[การจูบกอดกันในที่สารธารณะ, สิ่งนี้เขาไม่ทำกันในเมืองไทย]
- Les gros mots, cela ne se dit pas devant les gens qu'on ne connaît pas bien.

- Comment ça s'écrit votre nom ? = Comment est écrit votre nom ? [นามสกุลของคุณเขียนอย่างไร]
4. เราใช้ se faire, se laisser + infinitif ในความหมายเป็น passif ซึ่งประธานของประโยคจะเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น บุคคล :
- Je me suis fait vacciner contre la grippe. = J'ai été vacciné contre la grippe. [ผมได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่]
- Elle s'est laissé battre sans rien dire et sans pleurer. [หล่อนถูกตีโดยไม่พูดและไม่ร้อง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น