วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตำนานอื่นๆที่น่าสนใจ

กำเนิดโลก (กรีก)



ย้อนไปในสมัยครั้งก่อนที่แผ่นดินและทุกสิ่งมีชีวิตยังไม่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมา ทุกอย่างยังคงเป็นเพียงความว่างเปล่าที่ไร้รูปลักษณ์ จนเมื่อความว่างเปล่าส่วนหนึ่งเกิดสภาวะหมุนวนอย่างไม่หยุดนิ่ง และแยกตัวออกมากลายเป็นท้องฟ้า ที่มีนามว่าวิลยานาร์ส วิลยานาร์สก็คอยทำหน้าที่เฝ้าโอบอุ้มประคองภาวะของความว่างเปล่าเหล่านั้นเอาไว้ แต่ภายหลังการกำเนิดของวิลยานาร์สเพียงไม่นาน ภาวะของความว่างเปล่าอีกส่วนหนึ่งก็ได้แยกตัวออกมาเป็นผืนแผ่นดิน หรือที่เรียกว่าแม่พระธรณีซึ่งมีนามว่าแอมบาร์ และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดท้องฟ้าและผืนดินจวบจนถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง

แม้ว่าม้องฟ้าและแผ่นดินจะถูกสร้างขึ้นมาแล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่มีสิ่งอื่นใดปรากฎขึ้นมาอีก ท้องฟ้าในยามค่ำคืนจึงยังคงว่างเปล่าไร้แสงดาว ส่วนผืนดินก็ยังคงแห้งผากปราศจากสิ่งมีชีวิตหรือพืชพันธุ์

เวลาผ่านไป จนกระทั่งแอมบาร์ได้ให้กำเนิดบุตรแก่วิลยานาร์ส ซึ่งมีนามว่าคาเลเมนาร์ส เมื่อนั้นแสงสว่างก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา และนอกจากคาเลเมนาร์สที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว แอมบาร์ก็ยังให้กำเนิดธิดาอีกคนหนึ่งแก่วิลยานาร์ ซึ่งมีนามว่าโลเมอาร์ผู้เป็นความมืด ด้วยเหตุนี้ แผ่นดินที่เกิดขึ้นมาจึงมีทั้งแสงสว่างและความมืดปรากฎขึ้นมาหลังจากนั้น

คาเลเมนาร์สได้เดินทางออกไปท่องเที่ยวจนสุดปลายแผ่นดิน เขาได้ทำหน้าที่นำเอาความสว่างจากทั่วแผ่นดินที่ได้พบเจอมารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ความมืดที่เคยมีจางหายไป เมื่อแผ่นดินเกิดความสว่างขึ้นโดยทั่ว เคาเลเมนาร์สก็พบเห็นความจริงว่า แผ่นดินผืนนี้ช่างแห้งแล้งยิ่งนัก จึงตัดสินใจนำเอาความว่างเปล่าส่วนหนึ่งจากวิลยานาร์สมาสร้างเป็นเมฆฝน และปล่อยให้ล่องลอยไปปกคลุมทั่วผืนแผ่นดิน จากนั้นก็บันดาลให้เกิดฝนตกลงมารวมกันจนเกิดเป็นลำธาร เมื่อลำธารหลายสายไหลมาบรรจบกันก็กลายเป็นแม่น้ำ และเมื่อแม่น้ำไหลมารวมกันก็กลายมาเป็นมหาสมุทร สายน้ำบางสายถูกกักขังตามหุบเขาจนเกิดเป็นหนองบึงหรือทะเลสาบน้อยใหญ่ ด้วยเหตุนี้แผ่นน้ำทั้งหลายจึงบังเกิดขึ้นมาในที่สุดนั่นเอง

เมื่อคาเลเมนาร์สเห็นว่าผืนดินที่เคยแห้งแล้งกลับกลายเป็นแผ่นดินที่อุดมไปด้วยแหล่งน้ำ ก็เกิดความพอใจในผลงานของตนเป็นอย่างมาก แต่กระนั้นแล้ว แผ่นดินผืนนี้ก็ยังเป็นผืนดินที่มีแต่ภูเขาหิน ดิน และน้ำ แต่ยังไร้ซึ่งสิ่งมีชีวิตใดๆ เขาจึงปรึกษากับแอมบาร์ผู้เป็นมารดา ซึ่งในขณะนั้นเนื้อตัวของนางกำลังเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลน นางจึงใช้มือปัดเอาเศษโคลนออกจากตัว ทันทีที่เศษโคลนตกลงถึงพื้นก็บังเกิดเป็นพืชพันธุ์สีเขียวทั้งต้นไม้น้อยใหญ่ เจริญงอกงามจนทั่วทั้งแผ่นดิน

แม้ว่าในเวลานี้แผ่นดินจะมีทั้งแสงสว่างอันอบอุ่น ป่าและทุ่งหญ้าสีเขียวขจี และลำธารน้ำใสสะอาดแล้ว แต่แอมบาร์และคาเลเมนาร์สก็ยังเห็นว่ายังขาดบางสิ่งบางอย่างไปอยู่ จนกระทั่งวิลยานาร์สแสดงความเห็นว่าที่ทั้งสองยังไม่พอใจ อาจเป็นเพราะแผ่นดินยังขาดสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์น้อยใหญ่หลากชนิด แอมบาร์เห็นด้วยกับความคิดของวิลยานาร์ส จึงได้นำความว่างเปล่าบางส่วนมาสร้างเป็นฝูงสัตว์น้อยใหญ่ โดยสร้างปลาหลากชนิดให้อาศัยอยู่ในน้ำและในท้องทะเลตามชนิดพันธุ์ของมัน ส่วนฝูงสัตว์ปีกน้อยใหญ่ก็ให้โบยบินอยู่บนฟ้าและจัดหาที่อยู่ตามชนิดของมัน ในขณะที่ฝูงสัตว์จตุบาทน้อยใหญ่ทั้งสัตว์ที่กินเนื้อและสัตว์ที่กินพืชก็จัดการให้อยู่ตามชนิดของมัน นอกจากนี้ ยังได้อวยพรให้เหล่าสัตว์สืบเผ่าพันธุ์รุ่นสู่รุ่นจนเต็มแผ่นดิน ทำให้แผ่นดินที่เดิมเคยว่างเปล่ากลับอุดมไปด้วยความสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทุ่งหญ้าก็เขียวขจีตลอดเวลา และมีแสงสว่างที่คอยส่องให้อบอุ่นตลอดทั้งปี แผ่นดินจึงแลดูสวยงามเรียบประดุจสรวงสวรรค์ก็ไม่ปาน

แต่ทว่า โลเมอาร์ได้บังเอิญทำสิ่งผิดพลาดอย่างหนึ่งขึ้น เนื่องจากนางได้พยายามรวบรวมเอาความมืดดำในยามราตรีกาล และความหนาวเย็นที่ได้ถูกทำให้กระจัดกระจายไปเมื่อครั้งที่คาเลเมนาร์สรวบรวมแสงสว่างขึ้นเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้มีดินแดนบางส่วนในแผ่นดินไม่เคยมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับความอบอุ่นของแสงสว่างเลยแม้แต่น้อย

เมื่อคาเลเมนาร์สรู้ความจริงที่เกิดขึ้น ก็จนปัญญาที่จะแก้ไขได้ด้วยตนเอง จึงนำปัญหาไปปรึกษากับแอมบาร์และวิลยานาร์สอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสี่ก็ยังไม่สามารถค้นพบทางออกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เลย ด้วยเหตุนี้ทั้งสี่จึงเห็นพ้องต้องกันว่าค วรจะสร้างสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาที่สุดขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้



วิลยานาร์สจึงได้สร้างโครงร่างของสิ่งมีชีวิตชายและหญิงขึ้นมาสิบสองคน และให้แอมบาร์ระบายลมปราณออกทางจมูกโครงร่างนั้น เมื่อคาเลเมนาร์สได้สัมผัสที่เปลือกตา สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็เรียนรู้ที่จะมองเห็นได้ และสุดท้ายโลเมอาร์ได้สัมผัสที่หูของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งสิบสองคนสามารถได้ยินเสียงรอบกายได้

เมื่อทั้งสี่ได้ร่วมกันสร้างสิ่งมีชิวิตทั้งสิบสองคนขึ้นมา สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า ‘ไอสตาร์ หรืออิสตาร์’ ซึ่งหมายถึงวงศ์วานเทพไอสตาร์ทั้งสิบสองนั่นเอง เทพไอสตาร์แต่ละองค์มีชื่อที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

1. เบลเลก สุริยเทพ และประมุขของเหล่าไอสตาร์

2. เฟริอานอส เทพเจ้าแห่งรัตติกาล

3. คูเวียร์ เทพเจ้าแห่งการช่างและงานฝีมือ

4. ออร์ธาร์ส เทพเจ้าแห่งสงคราม

5. เนวิลเว เทพแห่งเจ้าแห่งการพิพากษาและความยุติธรรม

6. ซูเร เทพเจ้าแห่งสายลมและฤดูกาล

7. ไมอาร์ เทพีแห่งความรักและความงาม

8. อิสควาเทียร์ เทพีแห่งปัญญาและวิทยาการ

9. อลาเธียร์ เทพีแห่งมหาสมุทร

10. ออเรอาร์ เทพีแห่งการเกษตรและการกสิกรรม

11. เมนิเทียร์ เทพีแห่งการสื่อสารและการเดินทาง

12. ฟิริมาร์ เทพีแห่งผู้วายชนม์

เดิมทีก่อนที่เหล่าเทพไอสตาร์ทั้งสิบสองจะถือกำเนิดนั้น เทพเจ้าในพารูอินยังคงเป็นเพียงจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ แต่เมื่อทั้งสี่ได้สร้างเหล่าไอสตาร์ขึ้นมา เทพเจ้าจึงเปลี่ยนรูปแบบจากนามธรรมเป็นรูปธรรมในที่สุด

กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )


สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน

สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า “ทุ่งมาล์โบโร” ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว

การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z

วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน

สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19แท่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งเมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้อเท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น

แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำหใแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าเปห่งธรรมชาติทั้งหลาย

สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศอังกฤษ  กลางทุ่งราบอันกว้างใหญ่ ในบริเวณที่เรียกว่า “ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่” ลักษณะของสโตนเฮนจ์ จะเป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ยักษ์ ที่ประกอบด้วยแท่งหินจำนวน 112 ก้อน ทั้งหมดจะตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกันสามวง บางแท่งอาจตั้งขึ้น บางแท่งอาจวางนอน หรือบางแท่งอาจถูกวางซ้อนอยู่บน มองดูแปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่ง

ด้วนความประหลาดไม่เหมือนใคร และไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์การสร้างอย่างแน่ชัด ทำให้สโตนเฮนจ์กลายเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะ ‘กลุ่มหินประหลาด’ และหากพิจารณาถึงอายุของแท่งหินเหล่านี้ คาดการณ์ได้ว่า น่าจะถูกสร้างมานานกว่า 5,000 ปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ต่างตั้งคำถามว่าเหตุใด คนสมัยก่อนที่ปราศจากเครื่องมือทุ่นแรงเหมือนอย่างปัจจุบัน จึงสามารถแบกแท่งหินที่มีน้ำหนักมากถึง 30 ตัน ขึ้นไป มาวางซ้อนกันได้  และที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นก็คือ เหตุใดบริเวณที่ราบดังกล่าวจึงมีก้อนหินขนาดใหญ่โตเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันสันนิษฐานถึงต้นกำเนิดหรือที่มาในการเคลื่อนที่แท่งหินยักษ์ทั้งหมดว่ามาจากที่ไหน ซึ่งมีผู้ทำนายว่า น่าจะมาเป็นแท่งหินที่เคลื่อนย้ายมาจาก “ทุ่งมาล์โบโร” ซึ่งอยู่ถัดออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร

กล่าวกันว่า การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์ใช้เวลาในการสร้างอย่างยาวนานถึง 3-4 ระยะ รวมเวลาประมาณ 1,500 ปี โดยกินเวลาตั้งแต่ยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้น แต่คาดการณ์ว่าการสร้างโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันนี้ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงมาบ้าง และกลายเป็นซากปรักหักพังอันแสดงถึงความรุ่งโรจน์ที่หลงเหลืออยู่ บางส่วนมีการหายไปบ้าง ในขณะที่บางส่วนก็ทับถมอยู่ใต้ดิน

นักประวัติศาสตร์คาดคะเนว่าการก่อสร้างสโตนเฮนจ์น่าจะเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนปีคริสต์กาล หรือผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าประมาณ 3,800 ปี วิธีการสร้างเริ่มจากการขุดหลุมเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ให้ได้ 56 หลุม และเรียงตัวกันเป็นวงกลม  หลุมเหล่านี้ที่เป็นวงกลุ่ม จะเรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ที่เรียกตามชื่อของจอห์น ออบรีย์ ผู้ค้นพบสโตนเฮนจ์ในปีคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจจุบันหลุมทั้งหมดถูกปิดด้วยปูบซีเมนต์ มีเพียงหินฮีล (Heel Stone) ซึ่งเป็นหินแท่งแรก ที่ยังคงประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินในลักษณะเดิม ส่วนหลุมที่ขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงภายใน ถูเรียกชื่อว่าหลุม Y และหลุม Z

วงหลุมทั้งสองนี้อยู่ระหว่าง ‘วงหลุมออบรีย์วงนอก’ และ ‘วงแท่งหินตรงใจกลางขนาดใหญ่’ สันนิษฐานกันว่า วงหลุม Y และ Z อาจมีความสัมพันธ์กับการศึกษาทางดาราศาสตร์ เมื่อราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล ได้มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) จากแคว้นเวลส์ จำนวน 80 ก้อน มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกัน แต่ต่อมา ก็ได้นำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหินซาร์เซน(sarsen) vudจำนวน 30 แท่ง มาเรียงเป็นวงกลมหนึ่งวงแทนที่วงหินสี่น้ำเงินวงนั้น

สองวงเดิมที่อยู่ภายในวงหินทราย มีหมู่หินเรียงกันคล้ายรูปเกือกม้า  ส่วนหมู่ที่อยู่ด้านนอกซึ่งประกอบไปด้วยหินทรายสร้างเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม (Trilithon หมายถึง กลุ่มหินสามแท่ง โดยสองแท่งวางในแนวตั้งขึ้น ส่วนอีกแท่งวางพาดหินสองก้อนแรกในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านใน ประกอบไปด้วยหินขัดสีน้ำเงิน 19แท่ง

สโตนเฮนจ์ถือเป็นสถาปัตยกรรมอันแสนน่าทึ่ง เมื่อพิจารณาถึงที่มาหรือเครื่องมือในการสร้างหรือการขุดดิน ที่อยู่ในยุคหินใหม่ ก็เป็นเพียงเสียมที่ผลิตจากเขากวางแดงเท่านั้น ส่วนที่มาของชื่อ สโตนเฮนจ์ ได้มาจากการที่ชาวแซกซันตั้งให้ ซึ่งสโตนเฮนจ์ แปลความได้ว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ในขณะที่บันทึกในสมัยกลาง มีการตั้งชื่อวงหินนี้ว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะลงความเห็นในทำนองเดียวกันว่า โตนเฮนจ์เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ลี้ลับ และยังไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้มีไว้เพื่อใช้ทำอะไร มีแต่เพียงการเสนอข้อสันนิษฐานต่าง ๆ  เช่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปนิกที่ชื่อ อิ นิโก โจนส์ เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เคยเป็นเป็นซากของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 กลับยืนยันว่าซากสโตนเฮนจ์เป็นวิหารที่พวกลัทธิดรูอิด ใช้ประกอบพิธีบูชายัญมนุษย์ และบูชาพระอาทิตย์ แต่ความคิดเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นจริง เพราะสโตนเฮนจ์ถูกสร้างเสร็จมาอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวแล้ว จนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20  มีนักโบราณคดีบ่งบอกถึงข้อเท็จจริงบ้างอย่าง พวกเขาสามารถคำนวณอายุ และสรุปจุดประสงค์ของการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมาได้อย่างน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม  ข้อมูลความจริงที่ปรากฎยังมีอยู่ไม่มากนัก กล่าวว่า หินซาร์เซนที่เรียงกันในแนววงนอกมีความสูงประมาณ 5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 26 ตัน หินเหล่านี้น่าจะถูกย้ายมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs) ซึ่งไกลออกไปประมาณ 32 กิโลเมตร จากนั้น ก็นำมาขัดแต่ง สลัก และเดือยอย่างประณีต ทำให้แท่งหินที่ตั้งที่พื้นและแท่งหินที่เป็นคานหินสามารถอยู่ได้ยาวนานอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งมีน้ำหนักมากถึงสี่ตัน น่าจะนำมาจากภูเขาพรีเซลีในแคว้นเวลส์ทางตะวันตกเฉียงใต้  และคาดการณ์ว่า ลำเลียงมาโดยใช้แพแล้วล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน เมื่อมาถึงฝั่งก็ชักลากกันต่อมา

นักโบราณคดีโดยมากเห็นว่า สโตนเฮนจ์น่าจะเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีฝั่งศพ ซึ่งพิจารณาจากหลักฐานการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม ที่มีลักษณะใกล้เคียงสโตนเฮนจ์ แต่ก็ยังปรากฎหลักฐานคัดค้าน ว่าหลุมดังกล่าวในบริเวณนี้ น่าจะถูกขุดขึ้นมาก่อนจะมีการเผาศพ หรือบ้างก็คาดคะเนกันว่า หลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีไหว้ด้วยสุรา อาธิ การบวงสรวงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติทั้งหลายด้วยการเทเหล้าองุ่นลงในหลุม


อีกหนึ่งข้อสันนิษฐาน ก็คือ วงหินสโตนเฮนจ์อาจจะเคยเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวง เนื่องจากมีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งอ้างว่าตนสามารถถอดรหัสของแนวหินสโตนเฮนจ์ได้ โดยเขาได้เสนอความคิดว่า สโตนเฮนจจ์ คือ เครื่องมือคำนวญที่คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์สร้างขึ้นแทนปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เนื่องจาก แนวหินกลุ่มก้อนต่าง ๆ สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของระบุสุริยจักวาล ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีหลักฐานการคำนวณทางตัวเลขและสถิติมาสนับเสนุนข้อเท็จจริง แต่ความลับของหินสโตนเฮนจ์ก็ยังคงรอการไขปริศนาต่อไป เพราะยังไม่มีใครทราบที่มาของการสร้างอย่างแท้จริง

โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ ( Moai Easter Island ) รูปปั้นลี้ลับมาได้ยังไง



โมอายแห่ง ราโน ราราคู
เกาะอีสเตอร์ เป็นชื่อของเกาะที่คนจำนวนมากน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของมันผ่านหูมาบ้าง และก็คาดว่าคนเหล่านี้คงจะยังคงสงสัยถึงความลึกลับของชื่อประหลาดๆแห่งนี้กันบ้างละ ว่ามันคืออะไรกันแน่ นอกเหนือจากนี้ยังมีรูปสลักหน้าใหญ่อันแสนลึกลับที่วางเรียงรายกันเป็นแถวบนแถบชายหาด ที่คนส่วนใหญ่ขนานนามกันว่า ” โมอาย ” อีกด้วย




แผนที่บนเกาะอีสเตอร์

สถานที่ตั้งของเกาะอีสเตอร์ อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนตาฮิติและชิลีราว 2,000 ไมล์ หากพิจารณาในแผนที่โลกก็จะพบว่า เกาะอีสเตอร์เป็นเพียงเกาะเล็กๆที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางมหาสมุทร  ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ก็คือ แท่งหินขนาดยักษ์ที่แกะสลักเป็นรูปหน้าคน หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า ‘โมอาย’ แต่เมื่อย้อนความไปในอดีต กลับพบว่าเดิมทีเกาะนี้ไม่ได้ชื่ออีสเตอร์หรอก แต่มีชื่อพื้นเมืองว่า ” Te Pito O Te Henua ” ที่หมายถึง สะดือของโลก (Navel of The World) ต่างหาก  แต่หลังจากที่เกาะแห่งนี้ถูกค้นพบโดยชาวตะวันตกที่มาขึ้นฝั่งด้วยเรือที่นี่เมื่อปี 1722 ซึ่งวันนั้นตรงกับวันอีสเตอร์พอดี เกาะแห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เกาะอีสเตอร์ นั่นเอง

โมอาย (Moai) เป็นหินรูปปั้นที่มีรูปร่างคล้ายคน โดยรูปปั้นนี้จะมีส่วนศีรษะที่ใหญ่ชัดเจน โมอายที่พบบนเกาะนี้มีมากกว่า 600 ตัว และกระจัดกระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ ภายในอุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี จากการสำรวจ พบว่าโมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียวกัน แต่อาจมีบางตัวจะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อย กล่าวคือมี Pukau หรือหมวกวางอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทุกก้อนผลิตมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งที่นั่นเป็นสถานที่แกะสลักโมอาย และพบว่ายังมีโมอายกว่า 400 ตัว ทั้ยังอยู่ในกระบวนการแกะสลัก

การค้นพบรูปปั้นที่ยังอยู่ในระหว่างการแกะสลักนี้ ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่า เหมืองหินที่สร้างโมอายขึ้นมาน่าจะถูกทิ้งร้างไปแบบกระทันหัน และพบว่าโมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นฝีมือชาวพื้นเมืองบนเกาะที่จับให้มันล้มลง

เมื่อพิจารณาลักษณะโดยละเอียดของโมอาย จะพบว่า โมอายจะประกอบไปด้วยส่วนหัวขนาดใหญ่ แต่ก็มีโมอายบางตัวที่มีส่วนประกอบของหัวไหล่ แขน และลำตัว ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบถึงความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายอย่างชัดเจน ทุกอย่างยังคงมีเพียงข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกันไปต่างๆนานา แต่พบว่าข้อสันนิษฐานที่นิยมมากที่สุด ก็คือ รูปปั้นโมอายเหล่านี้ถูกสร้างโดยพวกโพลิเนเชียน (Polynesian) ที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มานานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ทั้งนี้ ที่เชื่อว่าพวกโพลิเนเชียนสร้างโมอายนี้ขึ้นเพื่อ ก็น่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเป็นบุคคลผู้มีความสำคัญ ณ ยุคสมัยนั้น หรือบางครั้งก็เชื่อกันว่าอาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของแต่ละครอบครัว

จะพบได้ว่าการสร้างโมอาย ที่มีขนาดสูงประมาณ 3.5 เมตร และหนักถึง 20 ตัน นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ต้องลงทุนลงแรง และใช้เวลานานหลายปีจึงจะสร้างสำเร็จ อีกทั้ง ยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นที่สร้างเสร็จแล้วไปยังบริเวณที่ต้องการอีกด้วย ปัจจุบัน การขนย้ายโมอายที่หนักและใหญ่เช่นนี้ ยังคงเป็นความลับที่ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด แม้ว่าจะมีนักวิชาการหลายคนพยายามขุดค้นเพื่อตำนานของชาวเกาะเพื่อสืบหาความเป็นมาเป็นไปของโมอาย แต่ก็ไม่พบความคืบหน้าสักเท่าไรนัก เมื่อนำคำถามนี้ไปถามชาวเกาะวัชราที่ยังคงมีความทรงจำเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเกาะ ก็กลับได้รับคำตอบอย่างน่าแปลกใจว่า “มันเดินกันลงมาเอง” !? เพราะคงไม่มีใครเชื่อว่ารูปสลักขนาดใหญ่มหึมาขนาดนี้ จะถูกชาวบ้านใช้แรงงานลากขนย้ายลงมาด้วยตนเอง และไม่เพียงแต่วิธีการขนย้ายเท่านั้นที่ยังเป็นปริศนา  แต่การแกะสลักของชาวโพลิเนเชี่ยนที่สร้างโมอายขึ้นมานี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบชัดเจนว่าพวกเขาใช้เครื่องมืออะไรในการสรรค์สร้างมันขึ้นมา



โมอายผู้พิทักษ์หมู่เกาะ
มีตำนานของเกาะอีสเตอร์บอกเล่ากันมาว่า หัวหน้าเผ่าหมู่หนึ่งได้พยายามซึ่งสืบเสาะหาทำเลที่ตั้งบ้านหลังใหม่ และในที่สุดเขาก็ได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์เป็นแหล่งพักพิง หลังจากที่หัวหน้าเผ่าสิ้นใจตายไปแล้ว เกาะแห่งนี้ก็ได้ถูกแบ่งสมบัติให้แก่บรรดาเหล่าลูกชายของเขา และมีการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ และเมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดเสียชีวิตลง ก็จะมีการนำโมอายไปตั้งเป็นสัญลักษณ์ไว้ประจำ ณ สุสาน ด้วยเหตุนี้ ชาวเกาะทั้งหลายจึงเชื่อว่า รูปปั้นโมอายจะคอยพิทักษ์รักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าที่เสียชีวิตไปแล้วเอาไว้ และจะช่วยนำเอาสิ่งดีๆ เช่น ฝนตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารสมบูรณ์ เป็นต้น กลับมาสู่เกาะอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ตำนานที่เล่ากันมานี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงได้บ้าง เนื่องจากเป็นการเล่าที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้ว
การไขปริศนาของโมอายที่แท้จริงจาก UBC ช่อง History

เป็นที่สรุปออกมาแล้วว่า โมอายกว่า 900 ตัว ที่ถูกค้นพบบนเกาะอีสเตอร์ เป็นฝีมือการประดิษฐ์ของมนุษย์ชาวโพลิเนเชียนนั่นเองเอง เนื่องจากหลักฐานระบุว่า ที่บนเกาะแห่งนั้นมีเหมืองหินขนาดใหญ่อยู่แล้ว การแกะสลักโมอายทั้งหมดจึงใช้วัตถุดิบจากหินภูเขาไฟซึ่งมีความแข็งและคมกว่าหินภายในเหมืองหิน มาเป็นเครื่องมือในการแกะสลันั่นเอง

เหตุใดอารยธรรมของพวกเขาเหล่านี้จึงสาปสูญไป ??

เหตุผลที่อารยธรรมของพวกเขาเหล่านี้สาปสูญไป ก็เป็นเพราะพวกเขาได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่บนเกาะจนหมดสิ้นไปแล้ว จากเดิมเป็นเกาะแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ที่คอยกำบังแดดร้อนให้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป  เมื่อมรัพยากรสิ้นสุดลง ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องไปหลบแดดอยู่ภายในถ้ำ นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ยังพบอีกด้วยว่า บนเกาะแห่งนี้ได้เกิดสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองบนเกาะกัน รวมไปถึงมีการใช้สิทธิขาดในการใช้ทรัพยากร ย่างไรก็ตาม พวกเขาก็พยายามหาทางแก้ไขความขัดแย้งครั้งนี้ โดยการจัดการแข่งขัน ‘มนุษย์นกขึ้น’ (Birdman) ซึ่งการแข่งขันแบบสุดหฤโหดนี้จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละเผ่าที่เก่งที่สุดออกมา และจะมาวิ่งแข่งลงจากหน้าผาที่สูงชันถึง 1000 ฟุต ต่อด้วยการว่ายน้ำฝ่าฝูงฉลามไปยังเกาะนกนางนวล จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกหยิบไข่นกนางนวลกลับมา ก่อนจะว่ายน้ำกลับมาเพื่อนำไข่ไปให้แก่ผู้นำของตนเอง หากเผ่าใดสามารถชนะการแข่งขันครั้งนี้ได้ หัวหน้าเผ่าเหล่านั้นก็จะเป็นผู้นำที่สามารถใช้สิทธิอันเด็ดขาด และมีอำนาจสูงสุดในการปกครองเกาะแห่งนี้ไปอีก 1 ปี พอครบปี ก็จะมีการคัดเลือกผู้นำเกาะคนใหม่ขึ้นมาแทน

เหตุผลที่โมอายได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

เมื่อปี พ.ศ. 2533 โมอายได้ถูกรับเลือกให้เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้ ได้แก่

1. โมอายถือเป็นตัวแทนผลงานชิ้นเอกที่ถูกสร้างขึ้นจากการสร้างสรรค์อันแสนชาญฉลาด
2. โมอายเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ยังคงปรากฏให้คนทั่วโลกได้เห็นและสัมผัสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3. โมอายเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม อันบ่งบอกถึงกรรมวิธีการก่อสร้าง หรือการลงหลักปักฐานของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เสื่อมสลายได้ง่ายจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ใช้เรียนรู้เพื่ออนาคตได้เป็นอย่างดี

เสริม

ในปัจจุบัน มีค่ายเกมส์ยักษ์ใหญ่ได้นำเอาโมอายไปเป็นส่วนหนึ่งของวีดีโอเกมส์ด้วย เช่นเกมส์ Gradius เกมส์ยานยิง ของค่าย Konami




สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (Bermuda Triangle @ Atlantic Ocean) และผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์



ความลี้ลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาคือสถานที่ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอ็ตแลนติคทางภาคตะวันตก ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเรื่องราวลึกลับขึ้น สถานที่นี้เริ่มต้นจากบริเวณตอนเหนือของเบอร์มิวดาไปจนถึงตอนใต้ของรัฐฟลอริดา-และจากฟลอริดามุ่งตรงไปทางตะวันออกในแนวทำมุมสี่สิบองศากับเส้นรุ้ง พาดผ่านบาฮามัสและเปอร์โตริโก จากนั้นก็ย้อนเฉียงกลับไปสู่ทางใต้ตอนเหนือของเบอร์มิวดาอีก พื้นที่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นอาณาบริเวณที่เชื่อมโยงกันคล้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม และอาณาบริเวณรูปสามเหลี่ยมแห่งนี้นี่ละที่เป็นแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ลี้ลับเหนือธรรมชาติ และน่ามหัศจรรย์ใจขึ้น

สิ่งลึกลับและเหลือเชื่อที่พูดถึงนี้ เริ่มต้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 และเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ว่ามีเหตุการณ์ลี้ลับเกิดขึ้น ก็เนื่องจากมีทั้งเครื่องบินจำนวนมากกว่า 100 เครื่อง และเรือเดินสมุทรอีกจำนวนมหาศาลที่เดินทางผ่านมาในบริเวณนี้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยในบรรยากาศและพื้นทะเลของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลืนกินชีวิตมนุษย์นับพันและพาหนะจำนวนมากไปภายในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีแม้แต่ซากศพหรือเศษชิ้นส่วนใดๆของเรือและเครื่องบินเพียงแต่ซากเดียว

การหายสาบสูญของยานพาหนะ ทั้งเรือ เครื่องบิน และชีวิตมนุษย์ ในแถบดินแดนสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแห่งนี้ ยังคงเป็นปริศนาที่รอการพิสูจน์ต่อไป พร้อมๆไปกับปริมาณของความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา  และแม้ว่าต่างชาติหรือชาติที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียเหล่านี้จะพยายามดำเนินการค้นคว้า หรือสืบเสาะหาสาเหตุแห่งปรากฏการณ์อันประหลาดและลึกลับสักเท่าไร  แต่จนถึงในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีใครหรือหลักฐานใดๆที่สามารถบ่งบอกถึงสาเหตุของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้เลย และยังไม่มีใครทราบถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภัยในอาณาบริเวณแห่งนี้ได้ด้วย

จากเหตุการณ์ที่เคยผ่านมาในอดีต จะพบว่า โดยส่วนมากเครื่องบินที่สูญหายไปเหนือพื้นทะเลแห่งนี้ จะหายจากการติดต่อกับฐานปฏิบัติการณ์หรือสถานีปลายทางไปก่อนที่จะหายตัวไป และแม้ว่าในช่วงนั้นจะมีสภาพของบรรยากาศหรือทัศนะวิสัยที่สงบแจ่มใส ไร้วี่แววของพายุร้ายใดๆ แต่พอถึงช่วงเวลาที่มีเครื่องบินขับผ่านมาที่บริเวณนี้ เครื่องบินเหล่านั้นก็จะหายตัวไปเองอย่างทันทีแบบไม่มีร่องรอยใดๆ และไม่เปิดโอกาสให้นักบินสามารถแจ้งข่าวทางวิทยุให้แก่หอควบคุมการบินทราบได้เลย แต่บางกรณี ก็มีนักบินจำนวนมากที่ส่งสัญญาณกลับมาที่ฐานปฏิบัติการได้ทันก่อนที่เครื่องบินจะหายสาบสูญ แต่สิ่งที่นักบินบอกตรงกัน ก็คือ เมื่อเขาขับเครื่องบินผ่านมาถึงบริเวณดังกล่าวแล้ว เขาจะไม่สามารถควบคุมกลไกใดๆของเครื่องบินให้ดำเนินไปตามปกติได้เลย เข็มทิศประจำเครื่องจะหมุนปั่นรอบทิศแบบไม่สามารถบ่งบอกทิศทางได้ อีกทั้งท้องฟ้าบริเวณนั้นก็จะกลายเป็นสีเหลือง และมองดูคล้ายมีเมฆหมอกหนาทีบ ทั้งๆที่ความจริงแล้วบรรยากาศภายนอกเป็นวันที่แจ่มใสและมีแสงแดดจ้ามากก็ตาม เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ยังไม่มีใครสามารถทราบสาเหตุได้

ด้วยความลึกลับตามที่กล่าวมานี้ ทำให้สามเหลี่ยมเบอร์มิวดากลายเป็นบริเวณต้องห้ามและเป็นฮือฮาไปทั่วทั้งโลก อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถให้คำตอบของคำถามที่แสนพิศดารนี้ได้อย่างแจ่มชัด ความลึกลับและความอาถรรพ์ของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงยังคงปรากฏอยู่ต่อไป และไม่อาจมีวิธีในการป้องกันหรือขัดขวางได้เลย

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงวิชาการ

แม้จะยังไม่มีหลักฐานในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แต่ก็มีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการหลายท่านที่ออกมาวิเคราะห์ด้วยเหตุผล เพื่อตามหาคำตอบของการหาบสาบสูญของเรือเดินสมุทรและเครื่องบินทั้งหลายที่ผ่านมาในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดานี้

หากพิจารณาดูแล้ว การสูญหายไปนี้อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องประหลาดลึกลับสักเท่าไร เพราะเมื่อเปรียบเทียบเครื่องบินแต่ละลำกับความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นมหาสมุทรโลกแล้ว ก็อาจจะบอกได้ว่า เปรียบเสมือนกับการที่ฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในบรรยากาศเคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา หรือการที่น้ำในมหาสมุทรไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ หรือการที่กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมมีอัตราความเร็วกว่าสี่ไมล์ต่อชั่วโมงนั่นเอง

ส่วนในท้องทะเลนอกฝั่งบาฮามัส ก็พบสิ่งแปลกประหลาดอยู่สิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักประดาน้ำมักจะสามารถพบเห็นได้อยู่บ่อย ๆ พวกเขาให้ชื่อสิ่งแปลกประหลาดนี้ว่า “ปล่องน้ำเงิน” ซึ่งมักจะพบอยู่ตามหุบผาใต้น้ำและแหล่งหินประการัง ลักษณะของปล่องน้ำเงินจะเป็นอุโมงค์หรือปล่องใต้ทะเล ที่เป็นที่อยู่ของปลาที่พบในทะเลน้ำลึก ปล่องเหล่านี้ถูกเชื่อกันว่า เกิดมาจากถ้ำหินประการังที่ถูกกัดกร่อนจากกระแสน้ำใต้ทะเลอย่างยาวนานนับหมื่นๆปี ปล่องที่ว่านี้ เคยมีนักประดาน้ำหลายท่านดำลงไปสำรวจถึงลักษณะอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่าปล่องจำนวนมากต่างมีทางแยกออกไปในแต่ละทิศทาง เป็นเหตุผลให้ปลาต่างๆที่ว่ายวนอยู่ในบริเวณนั้นเกิดความสับสน จนต้องว่ายเอาครีบท้องขึ้นสู่เบื้องบน มากไปกว่านั้น ยังพบอีกด้วยว่า หากกระแสน้ำไหลเชี่ยวเข้าสู่ส่วนลึกคล้ายถูกดูดด้วยกำลังอันมหาศาล ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นอันตรายต่อนักประดาน้ำเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ลักษณะการณ์เช่นนี้ยังทำให้น้ำบริเวณปากปล่องไหลวนเข้าไปภายในอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดการหมุนวนลักษณะกรวยที่บริเวณเหนือพื้นน้ำคล้ายเป็นวังน้ำวน ปรากฎการณ์เช่นนี้สามารถดูดเรือลำเล็กพร้อมด้วยคนบนเรือให้จมลงสู่ก้นบึ้งของทะเลได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีอีกทฤษฏีหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับพายุทอนาโดที่เกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว พายุทอร์นาโดเป็นพายุหมุนที่เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล และสามารถดึงน้ำทะเลขึ้นมาปั่นเป็นเกลียวหมุนสูงนับหลายร้อยฟุตกลางอากาศ พายุลูกนี้จึงมีอานุภาพสูงสามารถกวาดเรือและเครื่องบินให้จมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทรได้อย่างไม่ยากเย็น และหากเกิดพายุทอนาโดขึ้นกลางดึก นักบินก็จะไม่สามารถจะมองเห็นในระยะไกลได้ ทำให้เครื่องบินที่กำลังบินอยู่ระดับต่ำอาจถูกกระแทกจนตกลงสู่ทะเลได้ ส่วนเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ก็อาจโดนกระแสคลื่นยักษ์กลืนจมหายไปได้

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่มีผลเป็นอันตรายต่อเครื่องบินได้ ก็คือ การผันแปรของอากาศแบบฉับพลันทันทีทันใด หรือที่เรียกกันว่า “แค๊ท (Cat – clear air turbulenec)” โดยทั่วไปแล้ว “แค๊ท” เป็นปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือการพยากรณ์ และไม่อาจคาดคะเนได้ มนุษย์ไม่สามารถพยากรณ์แค๊ทได้เช่นเดียวกับการพยากรณ์ภูมิอากาศ เพราะ โดยทั่วไป แค๊ทสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสภาวะอากาศ ซึ่งสาเหตุของปรากฏการณ์ครั้งนี้ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัด อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าหากปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นขณะที่กระแสลมพัดแรงและรวดเร็ว จะก่อให้บริเวณนั้นเกิดเป็นสูญญากาศทันที และเมื่อมีเครื่องบินลำใดบินเข้าสู่บริเวณนั้น ก็อาจจะทำให้ตกดิ่งสู่ทะเลได้อย่างไม่ยากเลย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า การแปรปรวนของบรรยากาศแบบทันทีทันใดในลักษณะนี้ จะ เป็นสาเหตุของการหายสาบสูญของเครื่องบินทุกลำในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเสมอไป เพราะปรากฏการณ์ “แค๊ท” จะไม่เป็นผลต่อการทำงานของเครื่องวัดต่างๆ และไม่ได้ทำให้ระบบการติดต่อทางวิทยุเสียหาย  ซึ่งไม่ตรงกับปรากฎการณ์ที่เรากำลังสงสัยอยู่ ซึ่งจะพบว่าทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ การติดต่อทางวิทยุจะเงียบหายไปตลอด

ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมอีกว่า การแปรผันของสนามแม่เหล็กโลกอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินตกได้เช่นเดียวกันหรือไม่ เพราะปรากฎการณ์เช่นนี้จะทำให้การทำงานของเครื่องวัดระดับและเข็มทิศประจำเครื่องเกิดการผิดพลาด ซึ่งกรณีเช่นนี้ หากนักบินไม่มีความสามารถมากพอ ก็อาจจะทำให้เครื่องบินตกดิ่งลงสู่ใต้ท้องมหาสมุทรได้  ยิ่งกว่านั้นยังมีปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติอีกมากมาย ที่เรายังไม่สามารถอธิบายหรือทราบสาเหตุที่แท้จริงได้

จุดจบของบทพิสูจน์และคำอธิบายในเชิงทฤษฎีวิทยาศาสตร์

ความคืบหน้าล่าสุดของการไขปริศนาความลึกลับบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ถูกอธิบายโดยศาสตราจารย์โจเซฟ โมนาแกน และ เดวิด เมย์ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโมนาช กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพวกเขายืนยันว่าสามารถไขปริศนาดังกล่าวได้อย่างชัดเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การศึกษาสรุปว่า บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าไม่ใช่ประตูมิติหรือดินแดนที่มีสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาเหนือกว่ามนุษย์แต่อย่างใด แต่พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีการสะสมของก๊าซมีเธนใต้ท้องทะเลอยู่เป็นจำนวนมาก จนก๊าซเกิดการปะทุขึ้นสู่ท้องฟ้าเหนือท้องทะเล  ก๊าซมีเธนเหล่านี้เกิดการขยายตัวเป็นวงกว้างโดยรอบ ทำให้วัตถุใด ๆ ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ และจะต้องถูกดูดกลืนจนจมลงสู่ห้วงทะเลลึกอย่างรวดเร็วในที่สุด ดังเช่นปฏิกิริยาของก๊าซมีเธนที่เห็นได้จากตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง ปฏิกิริยาของก๊าซมีเทน 

หลังจากการเปิดเผยถึงทฤษฎีดังกล่าว ทำให้คนทั่วโลกหันมาเชื่อถือในทฤษฎีดังกล่าวมากที่สุด เพราะสามารถอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น เหตุการณ์ที่เคยมีเรือหรือเครื่องบินหลายลำเสียการทรงตัวก่อนจะถูกดูดกลืนให้จมลงสู่ท้องทะเลลึกอย่างไร้ร่องรอยที่ทุกคนเคยทราบมาก่อนหน้านี้ จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะก๊าซมีเธนปริมาณมากนี้มีพลังอำนาจอันมหาศาลที่จะจมทุกสิ่งทุกอย่างให้หายไปในท้องทะเลลึก ส่วนใครที่ยังสงสัยว่า วัตถุที่จมลงสู่ท้องทะเลนั้นหายไปไหน หรือเหตใดจึงไม่มีใครเคยค้นพบเศษซากของเรือและเครื่องบินที่สูญหายเลยซักครั้ง คำตอบก็คือว่า ไม่มีใครกล้าจะเดินทางเข้าไปในบริเวณดังกล่าวเพื่อสืบหาวัตถุที่หายไปนั่นเอง หรือหากเคยมีนักสำรวจคนไหนที่ใจกล้าพอที่จะเดินทางเข้าไปเพื่อตรวจสอบความจริงบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ก็คงไม่มีโอกาสที่จะรอดชีวิตกลับมาเพื่อให้ข้อมูลใด ๆ ได้เลยสักคน


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น