วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

LE VERBE ÊTRE

LE VERBE ÊTRE
    Verbe "être" มีลักษณะการใช้ 2 แบบ : คำกริยาแท้ (verbe) และ คำกริยาช่วย (auxiliaire) เพื่อสร้าง รูปประโยค
        เชิงประกอบ (temps composés)
    รูปแบบ (formes) ต่างๆ เมื่อผันกับประธานแต่ละบุรุษในกาลปัจจุบัน (présent de l' indicatif) :
                                                                              Je suis [เชอ ซุย]
                                                                              Tu es [ตู เอ]
                                                                              Il / Elle / On est [อิล เล / แอล เล / อง เน]
                                                                              Nous sommes [นู ซอม]
                                                                              Vous êtes [วู แซ๊ต]
                                                                              Ils / Elles sont [อิล ซ๊ง / แอล ซ๊ง]
    การใช้ :
    1. เพื่อ บรรยาย หรือ บอกลักษณะ :
        * être + adjectif :
        - Odette est française. (โอแดตเป็นชาวฝรั่งเศส)
        - Elle est grande et belle. (หล่อนตัวสูงและสวย)
        * être + nom de profession (ไม่มี article) :
        - Ma mère est professeur de français. (แม่ของฉันเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศส)
        - Je suis étudiant. (ผมเป็นนักศึกษา)
    2. เพื่อ ระบุ หรือ บอก หรือ แนะนำ :
        * กับ "Je, Tu, Il, Elle, Nous, Vous, Ils, Elles" :
        - Bonjour ! Je suis Kriangkraï. Je suis votre professeur de français.
        * กับ สำนวนที่ใช้ในการแนะนำ "C' est, Ce sont" :
        - C' est mon école. (นี่เป็นโรงเรียนของฉัน)
        - Ce sont des amis de ma fille. (นี่คือเพื่อนๆของลูกสาวของฉัน) 
        ** เราสามารถใช้ "Voici, Voilà" ในการแนะนำได้ด้วย :
        - Voici mon ami Jean. (นี่คือเพื่อนของฉันที่ชื่อชอง)
        - Voilà le livre que tu veux. (นี่คือหนังสือที่เธอต้องการ)
    3. เพื่อบอกเวลา และ สถานที่ :
        * เวลา :
        - Quelle date sommes-nous ?   => Nous sommes le 20 mars 2003.
          (วันนี้วันที่เท่าไหร่  => วันที่ 20 มีนาคม 2546)          
        * สถานที่ :
        - Où est l' école Rachinie Bourana ?   => Elle est rue Naa Pra.
          (โรงเรียนราชินีบูรณะอยู่ที่ไหน   =>  อยู่ถนนหน้าพระ)
    4. เพื่อ เน้น หรือ ยํ้า ส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหรือข้อความ :
        * C' est / Ce sont ........... qui / que / où, dont (pronom relatif) :
        - Les roses, ce sont les fleurs que j' aime le plus. (ดอกกุหลาบคือดอกไม้ที่ฉันชอบมากที่สุด)
        - C' est ma mère qui m' a donné ce portable pour mon anniversaire.
          (เป็นแม่ของฉันที่ให้โทรศัพท์มือถือสำหรับวันเกิดของฉัน)
        * C' est (+ préposition) ............. que :
        - Je suis né à Bangkok, mais c' est à Nakhonpathom que j' habite.
          (ฉันเกิดที่กรุงเทพฯ แต่เป็นที่นครปฐมที่ฉันอาศัยอยู่)
     5. เป็นกริยาช่วยในการสร้างประโยคเชิงประกอบ (temps composé) ของคำกริยาบางตัว และคำกริยา
         ทุกตัว ในรูป pronominal :
         - Elle est arrivée en retard ce matin. (หล่อนมาสายเช้านี้)
         - Je me suis dépêché. (ฉันรีบ)
     6. ใช้ประกอบกับรูป "participe passé" ของคำกริยา เพื่อสร้างประโยครูป "passif" :
         - Le jour du départ est attendu avec impatience. (ทุกคนรอวันออกเดินทางด้วยใจจดจ่อ)
         - Ce film est fait par un réalisateur italien. (ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยผู้กำกับชาวอิตาเลี่ยน)
         - La terre est couverte de neige. (พื้นถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ)
     7. ใช้ประกอบเป็นสำนวนต่างๆมากมาย : [ * คลิกที่นี่เื่พื่อดูเพิ่มเติมสำนวนที่ใช้กับ verbe être ]
         - Ce livre est à Patricia. (être à quelqu'un = เป็นของ(หนังสือเล่มนี้เป็นของปาทริเซีย)
         - Elle est d' accord pour sortir ce soir. (être d' accord = ตกลง(หล่อนตกลงที่จะไปเที่ยวคํ่านี้)

                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น