วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

LES PRONOMS PERSONNELS : Le pronom "y" [คำสรรพนาม]

LES PRONOMS PERSONNELS : Le pronom "y" 
[คำสรรพนาม]
 Le pronom "y"
      หน้าที่ :
         1.ใช้แทนคำนามที่นำหน้าด้วยบุพบทต่างๆ (ยกเว้นบุพบท "de") เพื่อบอกสถานที่
            - Tu vas à Bangkok ?      Non, je n' y vais pas.
            - Tu étudies dans cette école ?      Oui, j' étudies depuis 3 ans.
            - Il met toujours ses documents sur le bureau ?       Oui, il y met toujours ses documents.
       ระวัง : - Tu iras à Bangkok demain ?        Oui, j' irai. [สำหรับ verbe "aller" ในรูป futur simple
                         และ conditionnel จะไม่มีการแทนที่ ... ด้วยเหตุผลในเรื่องของการออกเสียง]
         2. ใช้แทนคำนามที่เป็นสิ่งของนำหน้าด้วยบุพบท "à" หรือคำนามหรือส่วนของประโยค
             ซึ่งมีโครงสร้างคำกริยาที่มีบุพบท "à" ประกอบ
           - Tu penses à tes études ?      Oui, j' y pense.
           - Vous jouez aux cartes ?      Oui, nous y jouons.
       สำหรับคำนามที่เป็นบุคคล ใช้ "à" ตามด้วย สรรพนามที่ใช้ตามหลังบุพบท (pronom tonique) หรือใช้
           สรรพนามที่ใช้แทนกรรมรอง (pronom complément d' objet indirect) วางไว้หน้าคำกริยา
          - Je pense à ma mère. Je pense à elle tous les jours.
         - Tu t' opposes  à tes collègues ?       Oui, je m' opposes à eux.
         - Tu parles à Isabelle ?      Oui, je lui parle.
         - Elle téléphone à ses parents tous les jours ?       Oui, elle leur téléphone tous les jours.
       สำนวนบางสำนวนที่ใช้กับ "y"
         - Ça y est ! J' ai été reçu(e) à l' examen d' entrée. (สำเร็จแล้ว ! ฉันสอบเอนทรานซ์ได้แล้ว !)
         - Je n' y peux rien pour vous ! (ฉันช่วยอะไรคุณไม่ได้ !)
         - Ne t' inquiète pas pour lui; il va s' y faire vite. (ไม่ต้องกังวลเรื่องเขาหรอก เขาจะคุ้นเคยได้เร็ว)
     ตำแหน่ง (place) : เช่นเดียวกับสรรพนามอื่นๆ "y" จะวางไว้หน้าคำกริยา :
           - Tu participes aux jeux ?        Oui, j' participe.
           - Tu vas souvent au grand magasin ?       Non, je n' y vais pas souvent.
       ยกเว้น ในประโยคคำสั่งบอกเล่า "y" จะวางไว้หลังกริยา :
          - Allons au restaurant !        Allons-y !
      ระวัง : - Va tout de suite à l' école.        Vas-tout de suite ! [คืน "s" ให้กับรูปคำสั่งบุรุษที่ 2 เอกพจน์
                        ที่เคยตัดออกไป   เหตุผลเพียงเพื่อความไพเราะในการออกเสียง]   

                             สรรพนามที่แทนคำนามและเป็นกรรมของกริยา หรือเป็นส่วนขยายบอกสถานที่ จะวางไว้หน้ากริยา
         ยกเว้นเมื่ออยู่ในรูปคำสั่งบอกเล่า สรรพนามเหล่า่นี้ จะตามหลังกริยา
         1. กับสรรพนามเพียงหนึ่งตัว
             - Tu connais cette jeune fille ?   
            + Oui, je la connais.
            + Non, je ne la connais pas
               [ในประโยคปฎิเสธ สรรพนามจะอยู่ระหว่างปฎิเสธส่วนแรก "ne" และ "กริยา" ตามด้วยปฎิเสธส่วนที่สอง]
       ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามที่เป็นกรรมจะตามหลังกริยา
           - Achète ces fleurs.      Achète-les.
       ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามที่เป็นกรรมจะกลับไปอยู่หน้ากริยาดังเดิม
           - N' achète pas ces fleurs.      Ne les achète pas.
       สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค์ (trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนาม ในประโยคคำสั่งบอกเล่า
         2. กับสรรพนามสองตัว
             สรรพนามที่แทนกรรมรองจะอยู่หน้าสรรพนามที่แทนกรรมตรง
                - Il me prête son livre.      Il me le prête.
                - Elle nous raconte son histoire.      Elle nous la raconte.
             หากสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง
                จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง
                - Il offre ce cadeau à Hélène     Il le lui offre.
                - Le professeur explique les leçons aux élèves.      Il les leur explique.
         ในประโยคคำสั่งบอกเล่า หลังกริยาจะตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมตรงก่อน
            แล้วจึงตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมรอง
            - Donnez-moi votre adresse.      Donnez-la-moi.
            - Apporte ces fleurs à Roselyne.      Apporte-les-lui.
          ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามจะกลับไปอยู่หน้ากริยาเหมือนเดิม โดยสรรพนามที่แทนกรรมรอง
             จะนำหน้ากรรมตรง ยกเว้นเมื่อสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง
             จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง
        สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค (trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนามทั้งสองตัว ในประโยคคำสั่งบอกเล่า
           3. สรรพนาม "y" และ "en" นั้นจะอยู่ท้ายสุดตามลำดับในบรรดาสรรพนามทั้งหมด
            Jean m' invite au restaurant.      Il my invite.
               - Je donne de l' argent à mes enfants.      Je leur en donne.
               - Il y a assez de pain ?       Oui, il y en a assez.
        สังเกต : - Donnez-moi un kilo d' oranges.      Donnez-m' en un kilo.
        เมื่อมีคำกริยาในรูป infinitif ตามหลังคำกริยาตัวแรก สรรพนามที่ใช้แทนกรรมจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก
           และอยู่หน้า infinitif
           - Je ne peux pas répondre à ces questions.     Je ne peux pas y répondre.
           - Elle veut voir ce film.       Elle veut le voir.
        สำหรับคำกริยา "faire" และ "laisser" เมื่อตามด้วย infinitif สรรพนามที่แทนกรรมจะอยู่หน้าคำกริยาตัวแรก
           - Maman fait cuire les pâtes.      Maman les fait cuire.
           - Elle ne laisse pas sortir ses enfants le soir.      Elle ne les laisse pas sortir le soir.
         ยกเว้น : ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก
           - Laissez les enfants jouer !       Laissez-les jouer !
           - Fais venir le médecin.      Fais-le venir.

                                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น