วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

LES PRONOMS PERSONNELS : Les pronoms compléments d'objets directs [คำสรรพนาม]

LES PRONOMS PERSONNELS : Les pronoms compléments d'objets directs
[คำสรรพนาม]
คำสรรพนาม ใช้อ้างถึง หรือ แทนที่ คำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ หรือ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการซํ้าคำนามนั้นๆ
       คำสรรพนามจะเปลี่ยนรูปไปตามหน้าที่ของมัน โดยทำหน้าที่เป็น ประธาน [pronom sujet] หรือ กรรม
       [pronom complément]
 Les pronoms compléments d'objets directs : เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่เป็นคน,
     สัตว์, สิ่งของ โดยทำหน้าที่ี่เป็น"กรรมตรง" เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซํ้าคำนามที่ได้กล่าวถึงมาก่อน
      โดยทั่วไปคำสรรพนามเหล่านี้จะวางไว้หน้าคำกริยา ยกเว้นในรูปคำสั่งบอกเล่า
pronoms sujets
pronoms d'objets directs
Je
me
Tu
te
Il
le
Elle
la
Nous
nous
Vous
vous
Ils
les
Elles
les
     
     - Est-ce qu' il me regarde ?    -> Oui, il te regarde.
     - Est-ce qu' il te regarde ?      -> Oui, il me regarde.
     - Est-ce qu' il nous regarde ?    -> Oui, il nous regarde.
     - Est-ce qu' il vous regarde ?    -> Oui, il me regarde.
     - Est-ce que tu regardes le garçon ?    -> Oui, je le regarde.
     - Est-ce que tu regardes le train ?    -> Oui, je le regarde. 
     - Est-ce que tu regardes la jeune fille ?    -> Oui, je la regarde.
     - Est-ce que tu vois la mer ?    -> Oui, je la vois.
     - Est-ce que tu aimes tes parents ?    -> Oui, je les aime.
     - Est-ce que tu prends ces livres ?    -> Non, je ne les prends pas.
     - Est-ce que tu connais ces jeunes filles ?    -> Oui, je les connais.
     - Est-ce que vous prenez ces fleurs ?    -> Non, je ne les prends pas.
     * me, te, le, la เปลี่ยนเป็น m', t', l', l' เมื่อนำหน้า สระ หรือ h (ใบ้)
     - Est-ce que tu m' aimes ?    -> Oui, je t' aime.
     - Est-ce qu' il attend son tour ?    -> Oui, il l' attend.
     - Est-ce qu' elle aime sa soeur ?    -> Oui, elle l' aime.
     * เมื่อเป็น verbe pronominal (สะท้อนสู่ประธานของคำกริยา หรือ กระทำกับประธานของคำกริยา)
        สรรพนามบุรุษที่ 3  ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์จะได้แก่ "se"
     - Sylvie regarde Sylvie dans la glace.  -> Sylvie se regarde dans la glace. (ซิลวี่มองดูตนเองในกระจก)
     - Sylvie regarde Florence. -> Sylvie la regarde. (ซิลวี่มองดูฟลอร้องซ์ -> ซิลวี่มองดูหล่อน)
     - Ronald regarde Corine et Corine regarde Ronald.  -> Ronald et Anne se regardent.
       (โรนัลและคอรินต่างก็มองซึ่งกันและกัน)
     * ในประโยคคำสั่งบอกเล่า (impératif affirmatif) คำสรรพนามที่แทนกรรมตรงเหล่านี้จะอยู่หลัง verbe :
     - Attends Jacques.   -> Attends-le.
     - Achète cette cassette.    -> Achète-la.
     - Fais tes devoirs.    -> Fais-les.
    * - Ne prenez pas ces fruits-> Ne les prenez pas. (เป็นประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามต้องวางไว้หน้า verbe)
    * me และ te ต้องเปลี่ยนไปเป็น moi และ toi เมื่อตามหลังคำกริยา :
    - Suivez-me (X)    -> Suivez-moi.
    - Amuse-te bien !  (X)    -> Amuse-toi bien !

 สรรพนามที่แทนคำนามและเป็นกรรมของกริยา หรือเป็นส่วนขยายบอกสถานที่ จะวางไว้หน้ากริยา

         ยกเว้นเมื่ออยู่ในรูปคำสั่งบอกเล่า สรรพนามเหล่า่นี้ จะตามหลังกริยา

         1. กับสรรพนามเพียงหนึ่งตัว

             - Tu connais cette jeune fille ?   

            + Oui, je la connais.

            + Non, je ne la connais pas. 

               [ในประโยคปฎิเสธ สรรพนามจะอยู่ระหว่างปฎิเสธส่วนแรก "ne" และ "กริยา" ตามด้วยปฎิเสธส่วนที่สอง]

       ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามที่เป็นกรรมจะตามหลังกริยา

           - Achète ces fleurs.      Achète-les.

       ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามที่เป็นกรรมจะกลับไปอยู่หน้ากริยาดังเดิม

           - N' achète pas ces fleurs.      Ne les achète pas.

       สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค์ (trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนาม ในประโยคคำสั่งบอกเล่า

         2. กับสรรพนามสองตัว

             สรรพนามที่แทนกรรมรองจะอยู่หน้าสรรพนามที่แทนกรรมตรง

                - Il me prête son livre.      Il me le prête.

                - Elle nous raconte son histoire.      Elle nous la raconte.

              หากสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง

                จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง

                - Il offre ce cadeau à Hélène.      Il le lui offre.

                - Le professeur explique les leçons aux élèves.      Il les leur explique.

         ในประโยคคำสั่งบอกเล่า หลังกริยาจะตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมตรงก่อน

            แล้วจึงตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมรอง

            - Donnez-moi votre adresse.      Donnez-la-moi.

            - Apporte ces fleurs à Roselyne.      Apporte-les-lui.

          ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามจะกลับไปอยู่หน้ากริยาเหมือนเดิม โดยสรรพนามที่แทนกรรมรอง

             จะนำหน้ากรรมตรง ยกเว้นเมื่อสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง

             จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง

        สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค์ (trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนามทั้งสองตัว ในประโยคคำสั่งบอกเล่า

           3. สรรพนาม "y" และ "en" นั้นจะอยู่ท้ายสุดตามลำดับในบรรดาสรรพนามทั้งหมด

            - Jean m' invite au restaurant.      Il m' y invite.

               - Je donne de l' argent à mes enfants.      Je leur en donne.

               - Il y a assez de pain ?       Oui, il y en a assez.

        สังเกต : - Donnez-moi un kilo d' oranges.      Donnez-m' en un kilo.

        เมื่อมีคำกริยาในรูป infinitif ตามหลังคำกริยาตัวแรก สรรพนามที่ใช้แทนกรรมจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก

           และอยู่หน้า infinitif

           - Je ne peux pas répondre à ces questions.     Je ne peux pas y répondre.

           - Elle veut voir ce film.       Elle veut le voir.

        สำหรับคำกริยา "faire" และ "laisser" เมื่อตามด้วย infinitif สรรพนามที่แทนกรรมจะอยู่หน้าคำกริยาตัวแรก

           - Maman fait cuire les pâtes.      Maman les fait cuire.

           - Elle ne laisse pas sortir ses enfants le soir.      Elle ne les laisse pas sortir le soir.

         ยกเว้น : ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก

           - Laissez les enfants jouer !       Laissez-les jouer !

           - Fais venir le médecin.      Fais-le venir.

  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น