LES PRONOMS PERSONNELS : Les pronoms toniques
[คำสรรพนาม]
[คำสรรพนาม]
คำสรรพนาม ใช้อ้างถึง หรือ แทนที่ คำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ หรือ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการซํ้าคำนามนั้นๆ
คำสรรพนามจะเปลี่ยนรูปไปตามหน้าที่ของมัน โดยทำหน้าที่เป็น ประธาน [pronom sujet] หรือ กรรม
[pronom complément]
Les pronoms toniques : เป็นคำสรรพนามที่อ้างถึงหรือระบุถึง "บุคคล"
pronoms sujets
|
pronoms toniques
|
Je
|
moi
|
Tu
|
toi
|
Il
|
lui
|
Elle
|
elle
|
On
|
soi
|
Nous
|
nous
|
Vous
|
vous
|
Ils
|
eux
|
Elles
|
elles
|
การใช้ :
1. เมื่อมีเพียงสรรพนามอย่างเดียว :
- Qui veut une glace ? => Moi ! (ใครต้องการไอศครีมบ้าง) => (ฉัน)
=> Toi ? => (เธอใช่ไหม)
=> Toi ? => (เธอใช่ไหม)
2. หลัง " C' est " ," Ce sont " :
- Qui veut une glace ? => C' est moi !
=> C' est toi ?
=> C' est toi ?
** [C' est moi, C' est toi, C' est lui, C' est elle, C' est nous, C' est vous, C' est eux, C' est elles]
** [Ce sont eux, Ce sont elles (เป็นทางการ)]
3. ตามหลัง บุพบท (préposition) :
- Tu viens avec moi ? (เธอไปกับฉันไหม)
- Elle va chez elle. (หล่อนไปบ้านของหล่อน)
4. วางหน้าสรรพนามที่เป็นประธาน หรือ ตามหลังทันทีคำนามที่เป็นประธาน หรือ วางท้ายประโยค เพื่อ เน้นประธาน :
- Moi, j' aime le français. Toi, tu aime l' anglais. Lui, il aime l' histoire.
(ฉัน, ฉันชอบภาษาฝรั่งเศส เธอ, เธอชอบภาษาอังกฤษ เขา, เขาชอบประวัติศาสตร์)
(ฉัน, ฉันชอบภาษาฝรั่งเศส เธอ, เธอชอบภาษาอังกฤษ เขา, เขาชอบประวัติศาสตร์)
- Les enfants, eux, aiment les jeux vidéo. (พวกเด็กๆ เขาชอบวิดีโอเกมส์)
- On part ce soir, nous ! (พวกเรา, เราออกเดินทางคํ่านี้)
5. ในประโยคเปรียบเทียบ (comparatif) :
- Elle est plus jeune que moi ! (หล่อนเป็นเด็กกว่าฉัน)
6. เมื่อเราไม่ต้องการซํ้าคำกริยา :
- J' aime ce film. Et toi ? => Moi aussi ! (ฉันชอบหนังเรื่องนี้ แล้วเธอล่ะ) => (ฉันก็เหมือนกัน)
- Je n' aime pas cette couleur. Et toi ? => Moi non plus ! (ฉันไม่ชอบสีนี้ แล้วเธอล่ะ) => (ฉันก็ไม่เหมือนกัน)
7. กับ "même" เพื่อ เน้นหรือยํ้าว่า "ด้วยตนเอง" (= myself, yourself, himself, herself, ourselves, themselves)
- J' ai fait moi-même ce gâteau ! (ฉันทำขนมเค๊กนี้ด้วยตัวฉันเอง)
- Nous allons faire ce travail nous-mêmes ! (เราจะทำงานนี้ด้วยตัวเราเอง)
** เมื่อประธานเป็น On, Chacun, Tout le monde ... สรรพนามที่ใช้ตามหลังบุพบทคือ "soi" :
- On doit toujours avoir un papier d' identité sur soi. (เราต้องมีเอกสารที่แสดงว่าเป็นตัวเราติดตัวอยู่เสมอ)
- Après la classe, tout le monde rentre chez soi. (หลังเลิกเรียน ทุกคนก็กลับบ้านของตน)
- Chacun pour soi ! (ตัวใครตัวมัน !)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น