วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Le participe présent

รูปแบบ (forme) : [การผันคำกริยาในรูป participe présent]
         1. นำคำกริยาที่ต้องการมาผันกับประธานบุรุษที่ 1พหูพจน์ (Nous) ในรูป présent
         2. ตัดลงท้าย "ons" ออก
         3. เติมลงท้ายที่แกนของคำกริยาด้วย : ant :
         1er groupe (parler) : Nous parlons     =>     parl_     =>   parlant
             2e groupe (finir) : Nous finissons      =>      finiss_      => finissant
             3e groupe (prendre) : Nous prenons      =>      pren_      =>  prenant
        ยกเว้น verbe "être" เป็น étant, verbe "avoir" เป็น ayant, และ verbe "savoir" เป็น sachant
         Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_ger" เช่น manger, voyager, changer, mélanger, songer ... [g + e + a]   mangeant,
            voyageant, changeant, mélangeant, sangeant, ...
         Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_cer" เช่น commencer, placer, déplacer, tracer ... [ç + a]  commençant, plaçant,
           déplaçant, traçant, ...
       การใช้ :
        1. ทำหน้าที่เป็น adjectif ประกอบคำนาม ในกรณีนี้ participe présent ต้องสอดคล้องกับเพศน์ และพจน์ของคำนามที่ไปประกอบ :
            - C'est une histoire amusante. (มันเป็นเรื่องที่สนุก)
            - Ce sont des gens intéressants. (พวกเขาเป็นคนที่น่าสนใจ)
            - C' est une fille charmante(หล่อนเป็นคนที่มีเสน่ห์)
        2.1 ใช้บรรยายการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ ในกรณีนี้ participe présent ไม่มีการเปลี่ยนรูป :
            - Je vois les jeunes gens se promenant heureux la main dans la main. 
              (ฉันเห็นคนหน่มสาวเดินจูงมือกันอย่างมีความสุข)
            - Je les trouve lisant des bandes dessinées (ฉันพบพวกเขากำลังอ่านหนังสือการ์ตูนกันอยู่)
        2.2 ใช้แทนรูป pronom relatif "qui" ในความหมาย "ผู้ที่ซึ่ง..."
            - C'est une secrétaire pouvant parler français, anglais et thaï. = C'est une secrétaire qui peut parler français, anglais et thaï. (หล่อนเป็นเลขาที่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศส, อังกฤษ และภาษาไทยได้)
            - Les éIèves ayant le baccalauréat peuvent s'inscrire à l'université. Les éIèves qui ont le baccalauréat peuvent s'inscrire à l'université. 
             (นักเรียนที่มีประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้)
       2.3 ใช้บอกสาเหตุ โดยการแทน " comme " และ " étant donné que " :
            - Comme la pluie tombait très fort, nous avons dû renter. = La pluie tombant très fort, nous avons dû renter. (เนื่องจากฝนตกแรงมาก เราเลยจำเป็นต้องกลับ)
            - Étant donné qu'elle a passé plusieurs années en France, elle apprécie beaucoup la vie à la française. = Ayant passé plusieurs années en France, elle apprécie beaucoup la vie à la française.
                (เนื่องจากได้ไปใช้เวลาอยู่ฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายปี หล่อนจึงชื่นชอบชีวิตแบบฝรั่งเศส)
             
       3. ใช้กับ " en " จะได้รูปไวยกรณ์ที่เรียกว่า " le gérondif "
            En faisant, en travaillant, en écoutant, ...
            • เราใช้ le gérondif กับคำกริยาตัวอื่นอีกตัวเพื่อแสดงว่าการกระทำสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันโดยประธานเป็นตัวเดียวกัน
             le gérondif บอก " เวลา " :
            - Elle écrit la lettre et elle pense à lui.  Elle écrit la lettre en pensant à lui.
              (หล่อนเขียนจดหมายขณะคิดถึงเขา)
            - Quand je suis allé(e) à l'école, j'ai rencontré ton frère.  En allant à l'école, j'ai rencontré ton frère.
              (ขณะไปโรงเรียนฉันได้พบพี่ชายของเธอ)  
             le gérondif บอก " วิธีการกระทำ หรือ รูปแบบการกระทำ " :
            Comment as-tu appris l'italien ?  En suivant des cours et en écoutant des cassettes.
              (เธอเรียนภาษาอิตาเลี่ยนอย่างไร ?  โดยการไปเข้าชั้นเรียนและฟังเทป)
            Comment est-ce qu'elle est venue ?  En prenant le métro.
              
 (เธอมาอย่างไร ?  โดยการขึ้นรถใต้ดิน) 
 
               le gérondif บอก " เงื่อนไข " :
             Tu réussiras à l'examen si tu travailles régulièrement  Tu réussiras à l'examen en travaillant régulièrement(เธอจะประสบความสำเร็จในการสอบถ้าเธอทำงานอย่างสมํ่าเสมอ)
            Tu pourras me contacter si tu appelles chez mes parents.  Tu pourras me contacter en appelant chez mes parents. (เธอจะสามารถติดต่อฉันได้ถ้าเธอโทรไปที่บ้านพ่อแม่ของฉัน)
            • เราใช้ " tout " นำหน้า " le gérondif " เพื่อบอก :
             การกระทำสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน :
            - Ils chantent tout en dansant. (พวกเขาร้องเพลงไปพร้อมกับการเต้น)  
             ความขัดแย้งกัน :
            - Il est malheureux tout en étant très riche. (เขาไม่มีความสุขทั้งที่รํ่ารวยมาก) 


 Le participe passé 
      รูปแบบ (forme) : [การผันคำกริยาในรูป participe passé]
        วิธีทำกริยา infinitif ให้เป็น participe passé มีหลายรูปแบบโดยเฉพาะคำกริยาในกลุ่มที่ 3
        
อย่างไรก็ตาม สำหรับคำกริยาในกลุ่มที่ 1 และ คำกริยาในกลุ่มที่ 2 จะมีรูปลงท้ายที่แน่นอน คือ " é " สำหรับกลุ่มที่ 1
        และ " i " สำหรับกลุ่มที่ 2 ส่วนกลุ่มที่ 3 นอกจากคำกริยาที่มีรูปหรือลงท้ายที่เฉพาะแล้ว (ซึ่งต้องท่องจำ) เราอาจจะรวมกลุ่ม
        ลงท้ายได้เป็น 4 กลุ่ม คือ radical + u, radical + i, radical + is, radical + it ตามตารางข่างล่างนี้ : 
Être
Avoir
1ergroupe
2groupe
été
eu
radical + é
aimé
radical + i
choisi
3groupe
           radical + uconnaître connuvoir    vuvenir    venu.....            radical + ipartir   partiservir    servirire   ri.....            radical + ismettre   misprendre    prisasseoir   assis.....             radical + itécrire   écritconduire    conduitdire    dit..... 

Cas particuliers : กรณีเฉพาะ (ที่ต้องท่องจำ)
ouvrir  ouvert 
offrir  offert
couvrir  couvert 
découvrir  découvert
faire  fait
éteindre  éteint
naître  mourir  mort .....
        การใช้ :
        1. ใช้ประกอบกับกริยาช่วย (auxiliaire) "être" หรือ "avoir") ในการสร้าง กาลผสม (temps composés) :
             กับ "avoir"participe passé จะไม่สอดคล้องกับเพศและพจน์ของประธาน
            - J'ai mangé des fruits à midi. (passé composé)
            - Elle avait fini ses devoirs. (plus-que-parfait)
            - Il aura lu tous ces romans. (futur antérieur)
            - J'aurais voulu être artiste. (conditionel passé)
            - Je suis content que tu aies gagné la partie. (subjonctif passé)
             กับ "être"participe passé จะ่สอดคล้องกับเพศและพจน์ของประธาน
             - Elle est allée au rendez-vous. (passé composé)
            - Nous étions sortis pour manger. (plus-que-parfait)
            - Ils seront rentrés . (futur antérieur)
            - Je me serais levé(e) . (conditionel passé)
            - Je suis content qu'elles soient venues à ma fête. (subjonctif passé)
        2. ใช้ประกอบกับกริยาช่วย (auxiliaire) "être" ในรูป passive เพื่อเน้น "กรรม หรือ ผลของการกระทำ"
             และ participe passé ต้องสอดคล้องกับเพศและพจน์ของกรรมที่กลายมาเป็นประธาน :
           • โครงสร้าง : être + participe passé + préposition "par" + nom
           - Cette fête est organisée par les étudiants. (งานนี้ถูกจัดโดยนักศึกษา)
           - Ce film a été fait par un réalisateur français. (ภาพยนต์เรื่องนี้ถูกสร้างโดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส)
           • โครงสร้าง : être + participe passé [เมื่อไม่เน้นผู้กระทำกริยา]
           Ces livres ont été imprimés en France. (หนังสือเหล่านี่ถูกพิมพ์ในฝรั่งเศส)
           - Les enfants seront vaccinés à l'école. (เด็กๆจะได้รับการฉีดวัคซีนที่โรงเรียน)
      3. ใช้เป็น adjectif ประกอบคำนาม ในกรณีนี้ participe passé ต้องสอดคล้องกับเพศน์ และพจน์ของคำนามที่ไปประกอบ :    
          - C'est un acteur très connu. (เขาเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงมาก)
          - C'est un film interdit aux enfants de moins de 12 ans. (นี่เป็นภาพยนต์ที่ห้ามสำหรับเด็กอายุตํ่ากว่า 12 ปี)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น