วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทและกลุ่มของคำกริยา [Les catégories et les groupes de verbes]

ประเภทและกลุ่มของคำกริยา [Les catégories et les groupes de verbes]
 ประเภทของคำกริยา :
   1. คำกริยาที่ต้องการ กรรมตรง หรือ กรรมรอง (verbes transitifs)

      * Je choisis des cadeaux. (กรรมตรง) 
[ฉันเลือกของขวัญ]

      * Je réponds à sa lettre.(กรรมรอง
[ฉันตอบจดหมายของเขา]
    2. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (verbes intransitifs)

       * Elle est partie. 
[หล่อนไปแล้ว]
    <คำกริยาบางคำสามารถมีได้หลายโครงสร้าง> : 

       
* Il est temps de conclure. (ไม่มีกรรม) [ถึงเวลาต้องสรุปแล้ว]

       
* Conclus ton devoir. (กรรมตรง) [ทำการบ้านของเธอให้เสร็จ]

       
* La justice conclut à un non lieu.(กรรมรอง)  [ศาลตัดสินให้พ้นผิด]
   3. คำกริยาที่ไม่ได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ (verbes impersonnels) โดยจะประกอบกับประธาน " il " เท่านั้น

      * Il pleut. [ฝนตก]

      * Il faut partir tout de suite. [ต้องไปเดี๋ยวนี้]

      * Il est bon de se lever tôt. [การตื่นนอนแต่เช้าเป็นสิ่งที่ดี]
 กลุ่มของคำกริยา :
    1. กลุ่มที่ 1 คือ คำกริยาที่ infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายด้วย _er (ยกเว้น aller ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 3) : parler, habiter, regarder, travailler ...
     ตัวอย่างการผัน verbe "parler" :
        1. ตัด _er ออก [ จะเหลือ "แกน" (radical) : parl ]
        2. เติม "ลงท้าย" (terminaison) ที่ "แกน" (radical) : _e , _es, _e, _ons, _ez, _ent
                                                                 Je parl(เชอ ปาล)
                                                                 Tu parles (ตู ปาล)
                                                                 Il (Elle / On) parle (อิล / แอล / อง ปาล)
                                                                 Nous parlons (นู ปาร์-ลง)
                                                                 Vous parlez (วู ปาร์-เล)
                                                                 Ils (Elles) parlent (อิล / แอล ปาล)
    2. กลุ่มที่ 2 คือคำกริยา ที่ infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายด้วย _ir : finir, choisir, grandir, réussir, ...
      ตัวอย่างการผัน verbe "finir" :
      1. ตัด _ir ออก [ จะเหลือ "แกน" (radical) : fin ]
      2. เติม "ลงท้าย" (terminaison) ที่ "แกน" (radical) : _is , _is, _it, _issons, _issez, _issent
                                                                 Je finis (เชอ ฟิ-นิ)
                                                                 Tu finis (ตู ฟิ-นิ)
                                                                 Il (Elle / On) finit (อิล / แอล / อง ฟิ-นิ)
                                                                 Nous finissons (นู ฟิ-นิส-ซง)
                                                                 Vous finissez (วู ฟิ-นิส-เซ)
                                                                 Ils (Elles) finissent (อิล / แอล ฟิ-นิส)
     3. กลุ่มที่ 3 คือคำกริยาอื่นๆที่ส่วนใหญ่แส้ว infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายแตกต่างจากคำกริยาในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2
           โดยจะมี รูปแบบการผันที่หลากหลาย :  être, avoir, prendre, faire, vouloir, mettre ...
       ตัวอย่างการผันคำกริยากลุ่มที่ 3 : verbe : "être", "avoir", "prendre", "faire", "vouloir":
être
avoir
prendre
faire
vouloir
Je suisJ' aiJe prendsJe faisJe veux
Tu esTu asTu prendsTu faisTu veux
Il/Elle/On estIl/Elle/On aIl/Elle/On prendIl/Elle/On faitIl/Elle/On veut
Nous sommesNous avonsNous prenonsNous faisonsNous voulons
Vous êtesVous avezVous prenezVous faitesVous voulez
Ils/Elles sontIls/Elles ontIls/Elles prennentIls/Elles fontIls/Elles veulent
    <คำกริยา "être" และ "avoir" เป็น คำกริยาในกลุ่มที่ 3 นอกจากจะเป็นกริยาแท้ แล้ว ยังเป็นกริยาช่วย (auxiliaires)

     
นการสร้างรูปอดีตกาล 
(temps composé ของ passé composé) อีกด้วย>

       
* Je suis étudiant. (กริยาแท้)[ ฉันเป็นนักศึกษา]

         * Je suis arrivé en avance. (กริยาช่วย) [ฉันมาก่อนเวลา]

         * J'ai beaucoup de travail. (กริยาแท้) [ฉันมีงานมาก]

         * J'ai fini mes devoirs. (กริยาช่วย[ฉันทำการบ้านเสร็จแล้ว]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น