วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เลือกอาหาร...พิชิตโรคอ้วน



การลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนนั้นไม่ยาก ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน การรู้จักวิธีการเลือกอาการการกินให้มากขึ้น
กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วนและปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มให้พอเหมาะในแต่ละวัน
วัยรุ่นหญิง-ชาย อายุ 14-25 ปี ควรรับปริมาณวันละ 2,000 กิโลแคลอรี
วัยทำงานอายุ 25-60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรรับปริมาณวันละ 1,600 กิโลแคลอรี
หญิง-ชายที่ใช้พลังงานมาก เช่น นักกีฬา เกษตรกร ควรรับปริมาณวันละ 2,400 กิโลแคลอรี
ควรรู้จักเลือกอาหารต่างๆ ในแต่ละวันตามนี้
   ข้าว 1 จานนั้นให้พลังงานประมาณ 250 กิโลแคลอรี (ประมาณ 2 ทัพพีครึ่ง) ถ้าลดข้าวมื้อละ 1 ทัพพีใน 1 วัน สามารถลดพลังงานได้ถึง 300 กิโลแคลอรี
   ผลไม้ ควรเลือกที่ให้พลังงานต่ำ เช่น ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง แคตาลูป มะละกอ แตงโม สาลี่ แอปเปิล ดีกว่าผลไม้ที่หวานจัดให้พลังงานสูง เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ มะขามหวาน
   ผัก ควรเลือกกินให้มากๆ เพราะให้พลังงานน้อย แต่ได้คุณค่าสารอาหารมาก มีเส้นใยอาหารมาก ผักบางชนิดทำให้อิ่มนาน แต่พลังงานนิดเดียวเหมาะมากสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก
   เนื้อสัตว์ เลือกกินปลา ไข่ขาว กุ้ง ปู เนื้อไก่ ดีกว่าเลือกกินไข่เจียว ไก่ทอด หมูกรอบ เครื่องในสัตว์
   กะทิ/น้ำมัน น้ำมัน 1 ช้อนชา ให้พลังงานสูงถึง 45 กิโลแคลอรี ถ้าประกอบอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ ตุ๋น ยำ จะช่วยลดพลังงานจากการใช้น้ำมันปรุงได้มากทีเดียว อาหารทอดใช้น้ำมันอย่างน้อย 2 ช้อนโต๊ะ นั่นเกือบ 300 กิโลแคลอรี กะทิ 1 ถ้วยแกง จะมีหัวกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ พลังงานเท่ากับไขมัน 2 ช้อนชา ถ้าเลือกกินแกงส้ม ต้มยำ แทนแกงกะทิ ก็ลดพลังงานได้กว่า 100 กิโลแคลอรี
   เครื่องดื่ม น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่เรียกน้ำหนักได้มากทีเดียว เพราะ 1 กระป๋องให้พลังงานถึง 240 กิโลแคลอรี

   อาหารว่าง ไม่ควรกินบ่อย เพราะส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล ไขมัน เนย เช่น คุ้กกี้ ช็อกโกแลต มันฝรั่งทอด โรตี ทองหยอด ขนมขบเคี้ยว จะได้พลังงานไม่น้อยกว่า 200 กิโลแคลอรี ถ้างดไม่ได้ให้เลือกผลไม้ชนิดที่ไม่หวานแทน จะได้พลังงานต่ำลง เพิ่มวิตามินและเกลือแร่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น