วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วไป



          คนเรามีชีวิตอยู่ได้เพราะหัวใจเต้น และมีการหายใจ คน ปกติมีชีวิตอยู่ได้ต้องมีการทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายปกติ โดยเฉพาะระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ซึ่งมีปอดเป็นอวัยวะสำคัญ จะทำงานโดยหายใจเอาอากาศดี ที่มีออกซิเจนสูงจากอากาศภายนอกผ่านจมูก และหลอดลมเข้าไปในปอด แล้วหายใจเอาอากาศเสียที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากในปอดผ่านหลอดลม และจมูก ออกมาสู่ภายนอก
          ระบบไหลเวียนเลือดมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำงานโดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่รับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง,หัวใจ,ตับ,ไต,แขนขา เป็นต้น แล้วรับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากการทำงานของเซลล์มาที่ปอดหายใจพาออกไปนอกตัวเรา

สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ
          ภาวะหัวใจหยุดเต้น หมายถึง การไหลเวียนเลือดหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทราบได้จากการหมดสติ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น และคลำชีพจรไม่ได้ รวมทั้งไม่มีการหายใจ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือที่เรียกกันว่า "หัวใจขาดเลือด" หรืออาจะเกิดขึ้นตามหลังภาวะหยุดหายใจ เป็นต้น
          ภาวะหยุดหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคปอดติดเชื้อ, โรคหอบหืด, จมน้ำ, สิ่งแปลกปลอมอุดตันกั้นทางเดินหายใจ, การได้รับยาเกินขนาด, บาดเจ็บ เป็นต้น

คนที่หัวใจหยุดเต้นและหยุดการหายใจไปแล้วยังมีโอกาสฟื้นได้
          เมื่อใครก็ตามที่หัวใจหยุดเต้น และหยุดหายใจ หากมีใครสักคนีบทำการช่วยชีวิตขึ้นพื้นฐาน (Basic Life Support-BLS) ได้อย่างถูกวิธี ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดและมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอด ก็อาจทำให้การทำงานของหัวใจและปอดกลับคืนมาได้ คนผู้นั้นมีโอกาสที่จะกลับฟื้นมีชีวิตได้

ขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วไป(Basic Life Support - BLS)
ขั้นที่ 1 เรียกดูว่ารู้สึกตัวหรือไม่
          เมื่อพบผู้ป่วยนอนหมดสติ ควรมองดูรอบตัวที่ผู้หมดสตินอนอยู่ว่าปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ สะกิดหรือเขย่าตัวผู้หมดสติ พร้อมกับตะโกนถามว่า "คุณเป็นอย่างไรบ้าง?"

หมายเหตุ : ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะและคอ ให้พยายามพยับตัวผู้หมดสติให้น้อยที่สุด เพราะการโยกหรือขยับตัวมาก อาจจะทำให้ผู้หมดสติที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังอยู่แล้วเป็นอัมพาดได้

ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ

          หากหมดสติไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นและไม่หายใจ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่บริเวณนั้น และขอให้คนใดคนหนึ่งโทรศัพท์ ไปยังหมายเลขดังต่อไปนี้
  • 1669     เพื่อขอความช่วยเหลือและเรียกรถพยาบาลได้ทุกจังหวัด
  • 191       เรียกตำรวจให้ไปแจ้งรถพยาบาลอีกต่อหนึ่ง
  • 1772     เรียกรถพยาบาลของเครือโรงพยาบาลพญาไท
  • หรือจะเป็นีมงานของโรงพยาบาลที่เคยใช้อยู่ประจำได้
หมายเหตุ : ผู้ที่ทำหน้าที่โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล เตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน ดังนี้
  1. เหตุเกิดขึ้นที่ใด เช่น บ้านเลขที่ ถ้าเป็นสถานที่ทำงานให้บอกชื่อบริษัท ชื่อถนน
  2. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่กำลังพูดอยู่
  3. เกิดอะไรขึ้น เช่น อุบัติเหตุอย่างไร
  4. อาการของผู้ป่วยที่หมดสติเป็นอย่างไร เช่น ไม่หายใจ จมน้ำ เป็นต้น
  5. มีคนต้องการความช่วยเหลือกี่คน
  6. สภาพของผู้หมดสติเป็นอย่างไรบ้าง
  7. มีการให้ความช่วยเหลืออะไรอยู่บ้าง
  8. มีเครือ่งช็อคไฟฟ้าอัตโนมัติอยู่หรือไม่
  9. ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น
ข้อสำคัญ"อย่าวางหูโทรศัพท์จนกว่าพนักงานช่วยชีวิตที่รับโทรศัพท์จะบอกให้เลิกการติดต่อก่อน"
  1. ถ้าผู้ป่วยหมดสติเป็นผู้ใหญ่ ให้โทรศัพท์เรียกขอความช่วยเหลือทันทีก่อนลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต (Call first) เพราะผู้ใหญ่ที่หมดสติมักเกิดจากหัวใจเต้นรัว (VF) ซึ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด หากได้รับการช็อคด้วยไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวิตขั้นสูงโดยเร็ว
  2. ถ้าผู้หมดสติหยุดการหายใจเป็นเด็ก อายุต่ำกว่า 8 ปี ให้ลงมือช่วยชวิตไปก่อน แล้วค่อยโทรศัพท์ภายหลัง (Call fast) เพราะสาเหตุมักเกิดจากโรคของผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ท้องเสีย โลหิตเป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งแก้ได้โดยการลงมือปฏิบัติช่วยชีวิตทันที
หมายเหตุ : ในผู้ใหญ่หากหมดสติจากอุบัติเหตุจมน้ำหรือพิษของยา ให้ลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนโทรศัพท์ เพราะสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการหายใจล้มเหลว และในเด็กอายุเกิน 8 ปี หากมีอาการหมดสติและไม่หายใจกะทันหัน ก็ควรรีบโทรศัพท์ก่อน เพราะสาเหตุมักเกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ (VF)

ขั้นที่ 3 จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนหงาย
          ถ้าผู้หมดสติอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนทั้งสองข้างให้เหยียดอยู่ข้างลำตัว

หมายเหตุ : กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือสงสัยการบาดเจ็บที่คอและหลัง การจัดท่าต้องระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และลำคอ ตัวตรีงเป็นแนวเดียวกันไม่บิดงอ มิฉะนั้นผู้หมดสติอาจกลายเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังที่หักอยู่แล้วกดทับแกนประสาทสันหลังได้

ขั้นที่ 4 เปิดทางเดินลมหายใจ
          ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินหายใจ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้หมดสติยังหายใจได้ ในจังหวะหายใจเข้าจะเกิดแรงดูดเอาลิ้นลงไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจมากกว่าเดิม ต้องช่วยยกกระดูกกรรไกรล่างขึ้น ลิ้นซึ่งอยู่ติดกับกระดูกขากรรไกรล่างจะถูกยกขึ้นทำให้ทางเดินลมหายใจเปิดโล่ง

การเปิดทางเดินลมหายใจ มี 2 วิธี คือ 

1. วิธีดันหน้าผากและดึงคาง (head tilt-chin lift)

          ใช้ได้กับผู้หมดสติทั่วไปที่ไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผาก เอานิ้วชี้และนิ้วกลา'
ของมืออีกข้างหนึ่งดันคางขึ้น โดยดันบริเวณเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่างโดยไปกดเนื้ออ่อนใต้คาง











2. วิธียกขากรรไกรล่าง (jaw thrust)
          ใช้วิธีนี้กับกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอเท่านั้น ผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตต้องไปอยู่ทางศีรษะของผู้หมดสติ ใช้นิ้วหัวแม่มือ กดยันที่กระดูกแก้ม นิ้วที่เหลือทั้งหมดเกี่ยวกระดูกขากรรไกล่างเอาข้อศอกยันบนพื้นที่ ผู้หมดสตินอนอยู่แล้วดึงกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นมา












 
ขั้นที่ 5 ตรวจดูว่าหายใจหรือไม่
          โดยเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้หมดสติ เพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติขณะที่ตาจ้องดูการเคลื่อนไหวหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้นลงเป็นจังหวัดหรือไม่ (ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส) โดยมือยังคงเปิดทางเดินหายใจอยู่ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 วินาที













 
หมายเหตุ :
  1. ถ้าผู้หมดสติหายใจได้และไม่ใช่การหมดสติจากอุบัติเหตุหรือไม่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง ให้จัดทำผู้หมดสติไว้ในท่าพักฟื้น
  2. ถ้าสงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคือ ไม่ควรขยับ หรือจัดท่าพักฟื้นให้ผู้หมดสติ เว้นเสียแต่ว่าหาไม่ขยับทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น
ขั้นที่ 6 เป่าลมเข้าปอด
          ให้ทำการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมือเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจ หรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้เองอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ให้เลือกใช้ิวิธีใดวิธีหนึ่ง ต่อไปนี้

วิธีที่ 1  เป่าแบบปากต่อปากพร้อมกันดันหน้าผากและดึงคางให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบที่จมูกผู้หมดสติให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เพื่อให้ได้ปริมาณของลมสำหรับเป่าให้ผู้ป่วยมากที่สุด ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้้าอกของผู้หมดสติ และเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้นเป่านาน 1-2 นาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก
วิธีที่ 2  เป่าแบบปากต่อปากขณะยกขากรรไกรล่าง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างดันขากรรไกรล่างให้ปากผู้หมดสติเผยอเปิดออก ก้มลงเอาแก้มเปิดรูจมูกทั้งสองรูไว้ให้แนาน ประกบปากเข้ากับปาก ตามองหน้าอกผู้หมดสติ แล้วเป่าลมเข้าไปจนหนาอกของผู้หมดสติกระเพื่อมขึ้น เป่านาน 1-2 วินาที แล้วถอนปากออกมาให้ลมหายใจออกผ่านกลับออกมาทางปาก

ขั้นที่ 7 หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก

           ถ้าผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกาย ให้ถือว่าระบบไหลเวียนเลือดไม่ทำงาน ต้องช่วยกดหน้าอก โดยตำแหน่งอยู่ที่กระดูกหน้าอกตรงตำแหน่งระหว่างราวนม แล้วเอาสองสันมือวางลงบนตำแหน่งดังกลาว ยกนิ้วมือจากหน้าอก เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอกตำแหน่งดังกล่าว ยกนิ้วมือจากหน้าอก เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก อีกวิธีหนึ่งงคือวางสันมือของมือหนึ่งไว้ตรงกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง แล้วเอาอีกมือหนึ่งไปวางทาบและประสานนิ้วมือกัน


หมายเหตุ : ปัจจุบันนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปคลำชีพจรก่อนทำการกดหน้าอก เพราะจะทำให้มีความผิดพลาดสูง แนะนำให้ใช้วิธีคลำชีพจรเฉพาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้มีหน้าที่ช่วยชีวิตโดยตรงเท่านั้น

ขั้นที่ 8 กดหน้าอก 30 ครั้ง

          กดหน้าอกแล้วปล่อย ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกดประมาณ 100 ครั้ง/นาที โดยนับ 1 2 3 4 5 จนถึง 30 กดแต่ละครั้งลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว การกดให้ใช้เทคนิคดังนี้

  • วางนิ้วมือหนึ่งทาบบนอีกมือหนึ่งโดยไม่ประสาน หรือจะประสานนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันก็ได้ เพียงแต่ต้องคอยระวังให้น้ำหนักผ่านสันมือล่างลงบนกระดูกหน้าอก ไม่ใช่ลงบนกระดูกซี่โครง เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ซี่โครงหักได้
  • ตรึงข้อศอกให้นิ่ง อย่างอแขน ให้แขนเหยียดตรง โน้มตัวให้หัวไหล่อยู่เหนือผู้หมดสติให้ทิศทางของแรงกดดิ่งลงสู่กระดูกหน้าอก ถ้าแรงกดมีทิศทางเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แรงจะถูกแตกไปเป็นสองส่วน ทำให้แรงที่จะกดหน้าอกในแนวดิ่งไม่มีประสิทธิภาพ กดหน้าอกให้ยุบลงไปหนึ่งนิ้วครึ่งถึงสองนิ้ว หรือ 4-5 cm. ถ้ายุบมากกว่านี้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก ยกเว้นถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่มาก อาจจะต้องกดให้หน้าอกยุบลงไปมากกว่านี้ได้ ในจังหวะปล่อยต้องคลายมือขึ้นมาให้สุด อย่าคาน้ำหนักไว้ เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ แต่อย่าให้ถึงกับมือหลุดจากหน้าอก เพราะจะทำให้ตำแหน่งมือเปลี่ยนไป

ขั้นที่ 9 เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 30 ครั้ง

          เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้งสลับกับกดหน้าอก 30 ครั้งทำอย่างน้อย 5 รอบ แล้วหยุดประเมินผู้หมดสติอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้ตัว ไม่หายใจ ไม่เคลื่อนไหว ก็ทำซ้ำอย่างเดิมต่อไปอีกคราวละ 5 รอบ จนกว่าผู้หมดสติจะรู้ตัว หรือ จนกว่าความช่วยเหลือที่เรียกไปมาถึง
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการจะเป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ ควรช่วยชีวิตด้วยการเปิดทางเดินลมหายใจแล้วกดหน้าอกอย่างเดียว ขณะรอความช่วยเหลืออยู่ เพราะจะมีประโยชน์ต่อผู้หมดสติมากกว่าการไม่ช่วยอะไรเลย

ขั้นที่ 10 เมื่อผู้หมดสติรู้ตัวแล้ว จัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น
          จัดให้นอนตะแคงเอามือรองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมากเกินไป เพราะถ้าตะแคงคว่ำมากเกินไป กะบังลมจะขยับได้น้อย ทำให้หายใจเข้า-ออกได้น้อย การจัดท่าพักฟื้น (recovery) นี้ทำได้หลายแบบ แต่มีหลักโดยรวมว่า "ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที้่สุดให้ศีรษะอยู่ต่ำ เพื่อระบายของเหลวออกมาจากทางเดินหายใจ เป็นท่าที่มั่นคงไม่ลืมง่ายไม่มีแรงกดต่อทรวงอก ซึ่งทำให้หายใจได้ดี
หมายเหตุ : ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะหรือคอ ไม่ควรขบับหรือจัดท่าใดๆ ให้ผู้หมดสติ เว้นเสียแต่ว่าหากไม่ขยับทางเดินลมหายใจจะไม่เปิดโล่งเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น