“ ทอง ” แม้จะฟังดูดี มีค่า มีราคา คนมั่งมีใคร่จะมีทอง แต่เมื่อเอามาต่อท้ายคำว่า “วัย” ไม่ว่าจะคนมั่งมี รวยจนก็ไม่ใครอยาก จะได้ครอบครองนัก “วัยทอง” ไม่เพียงเป็นคำที่บ่งชี้ถึงอายุที่ล่วงเลยเลขหลัก 5 เท่านั้น แต่ในช่วงการก้าวสู่วัยทองนั้นมีผลต่อสุขภาพ ร่างกาย อารมณ์ของสตรีเพศด้วย ดังที่มักจะได้ยินคำกล่าวว่า “เจ้าอารมณ์เหมือนคนวัยทอง” “ วัยทอง ” หมายถึง สตีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน บางคนก็เรียกว่า “วัยหมดระดู” เรื่องของการเข้าสู่วัยทองนับเป็นการเปลี่ยน แปลงตามธรรมชาติของสตรีเพศ เป็นไปตามวงจรของชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ดำเนินเข้าสู่แต่ละวัยอย่างเป็นปกติ นับตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยทอง วัยชรา อายุเท่าไหร่ถึงจะถูกเรียกว่าวัยทอง (คงไม่มีใครอยากใช้คำนี้กับตัวเองหรอก) เริ้มตั้งแต่ผู้หญิงอายุ 45-50 ปี สามารถเกิดวัย ทองได้ แต่โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ช่วงอายุ 48-49 ปี จะเข้าสู่วัยทอง สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ และผู้ที่ ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่ ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ก่อนว่า อาการของวัยทองเป็นอย่างไร คนวัยทองสามารถเกิดโรคอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะ ได้รับมือ ป้องกันได้ถูกต้อง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่วัยทอง และเผชิญกับปัญหาเหล่านั้นรู้ตัวล่วลหน้าก่อนเปลี่ยนวัย อย่างที่บอกว่า วัยทองของแต่ละคนนั้นจะมาเยือนในอายุที่ไม่เท่ากัน จึงระบุแน่ชัดไม่ได้ว่า อายุ 45 50 ถึงจะเป็นวัยทอง แต่ คุณสามารถรู้ตัวล่วงหน้าได้ง่ายๆ ด้วยการสังเกตการมาของประจำเดือนจากที่เคยมาปกติ สม่ำเสมอ พอหลังจากอายุ 40 รังไข่เริ่ม ทำงานกระท่อนกระแท่น ประจำเดือนจะมาขาดๆ เกินๆ บ้าง และจะเห็นได้ชัดตอนอายุ 45 ปี ประจำเดือนจะมาไม่ปกติ มากบ้าง น้อยบ้าง 2-3 เดือนมาครั้ง หรือบางครั้ง 20 วันก็มาแล้ว ซึ่งจะมีอาการแบบนี้แทบทุกคน นอกจากนี้จะมีอาการร้อนวูบวาบ ซึมเศร้า ควบคุมอารมณ์ของตัวเองยากขึ้น 1-2 อาทิตย์ก่อนประจำเดือนมาจะหงุดหงิดมาก อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่เกือบปีก่อนที่จะเข้าสู่วัยทอง แต่บางคนก็อาจจะไม่มีอาการเหล่านี้เลย วัยทองกับภาวะอาการชวนหัวปั่น เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (progesterone) ลดลงทำให้เกิดอาการหลายอย่าง บางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย ซึ่งเป็นผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี ที่คนวัยทองจะต้องเผชิญกับอาการต่างๆ เหล่านี้ - ร้อนตามตัว จะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอ หลังจะแดง หลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลา กลางคืนอาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที - ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับเอสโตรเจนลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ทำให้ มีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ - มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก - มีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย ตึงเครียดง่าย อารมณ์อ่อนไหว มีอาการซึมเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่อหน่ายไปทุกเรื่อง โดย เฉพาะเรื่องเพศ - การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอว กล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว - ปัญหาอื่น เช่น ปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว สาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม สำหรับคนไทยส่วนใหญ่แล้ว การเข้าสู่วัยทองเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แต่อาจมีบางคนที่มีอาการมาก จนเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการงาน บางคนมีการเสื่อมถอยที่รุนแรง และรวดเร็วกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยความแตกต่าง ของอาการ และปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก 3 ปัจจัย คือ พื้นฐานสภาวะจิตใจและบุคลิกภาพดั้งเดิม โดยผู้ที่มีสภาพพื้นฐานทางจิตใจ และ บุคลิกที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย มักจะเข้าสู่วัยทองโดยราบรื่น ต่อมาคือความรุนแรงและฉับพลันของการขาดฮอร์โมนเพศ เช่น ในราย ที่ได้รับการตัดรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่อายุยังน้อย มักมีอากรที่รุนแรง กว่าผู้ที่หมดระดูตามธรรมชาติ หรือผู้ที่อยู่ในระยะที่กำลังมีการ เปลี่ยนแปลงตามระดับฮอร์โมนอย่างมาก ความเครียดและปัญหาที่รุมเร้า เข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว เนื่องจากสตรีในวัยนี้มักเป็นระยะ ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบสูง จึงมีความเครียดในระดับสูงหรืออาจเกิดจากปัญหาครอบครัว ซึ่งมักต้องรับภาระหนัก ในวัยดังกล่าวขจัดปัญหากวนใจคุณนายวัยทอง สำหรับแนวทางการดูแลรักษาสตรีวัยทองขึ้นอยู่กับอาการและปัญหาในแต่ละราย โดยเฉพาะอาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ มักมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำให้เกิดอาการมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน แนวทางการรักษาจากปัญหาข้างต้น ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา หรือฮอร์โมนทดแทน ในระยะแรก เพื่อรักษาระดับฮอร์โมน ในเลือดไม่ให้แกว่งไกวมากนัก จะช่วยให้สภาพจิตใจและอารมณ์มั่นคงขึ้น ทำให้ง่ายต่อการรักษาในขั้นต่อไป ทว่าสตรีที่เข้าสู่วัยหมด ระดู ไม่ควรได้รับฮอร์โมนทดแทนโดยอัตโนมัติ คงต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไปว่า มีข้อบ่งชี้ ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังอย่างไร ทั้งนี้ ในบางรายที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างฉับพลัน ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนในระยะสั้น เพื่อบรรเทาอาการ และเมื่ออาการสงบมั่นคงแล้ว จึงค่อยลด ละ เลิก การใช้ยา โดยในระหว่างนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่จะทำให้อาการหรือ ปัญหาเป็นรุนแรงขึ้น ภายหลังจากที่สามารถควบคุมอาการได้ในระดับหนึ่งจากการใช้ยาหรือฮอร์โมนทดแทนแล้ว ก็ควรเริ่มจัดการกับความเครียดด้วย การออกกำลังกาย โดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติทางจิต ได้แก่ การทำชีกง โยคะ หรือการฝึกปฏิบัติสมาธิวิปัสสานา ซึ่งจะช่วยให้ปล่อยวาง หรือทนทานต่อความเครียดได้ดีขึ้น ทำให้เครียดยากขึ้นและเป็นสุขง่ายขึ้น โรคคู่หูวัยทอง คนที่มีอายุ 50 ก็เปรียบเสมือนคนที่เดินลงเขา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามสังขาร แต่ก็มีวิธีที่จะทำยังไงไม่ให้ร่างกายโรยเร็ว และอีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งของคนวัย 50 ก็คือ ฮอร์โมนลดลง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงให้เกิดโรคกระดูกพรุน และหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคกระดูกพรุน เนื่องจากเพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกจางมากและเร็วกว่าผู้ชาย และผู้หญิงวัยทองขาดเอสโตรเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการละลาย ของกระดูกมากกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามหากวัยสาวสามารถสะสมมวลกระดูกไว้ได้มากก็จะทำให้กระดูกกร่อนช้า ไม่เกิดโรคนี้ ซึ่งวัย ที่สะสมมวลกระดูกไว้ได้มากและดีที่สุด คือช่วง 30-35 ปี โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ตามจริงแล้วผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่า เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันสูง แต่พอผู้หญิงก้าวสู่วัยทอง ฮอร์โมน นี้ลดลง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก วิธีการป้องกันต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อายุมากขึ้นต้อง ทานให้น้อยลง เน้นผัก ผลไม้ และหมั่นออกกำลังกาย เพราะส่วนใหญ่พออายุมากมักมีอันจะกิน กินเกินจนมีไขมันเกิน หลอดเลือดก็ตัน ดังนั้นถ้าปฏิบัติถูก โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็ไม่มาก ดูแลสุขภาพให้เหมาะกับวัย เมื่อเข้าสู่วัยนี้แล้ว ก็ควรจะดูแลสุขภาพร่างกายให้เหมาะสมกับวัย ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย หรือประพฤติตัวเหมือนวัยสาว เพราะร่าง กายของคนเรานั้นต้องการอาหาร การดูแล ผักผ่อนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละวัย อาหาร นอกจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว สตรีวัยทองควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทาน จะเป็นตัว เสริมสร้างกระดูก สตรีวัยทองควรจะได้รับแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ควรจะควบคุมระดับ ไขมันในเส้นเลือดโดยงดรับประทานอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น หอยนางรม ไข่แดง เป็นต้น เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสุรา หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าๆ และใจเย็นๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ ฝึกโยคะ ชีกง ฯลฯ เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ ให้นอนในห้องที่เย็น ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อนหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดร้อน ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็กความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็กมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก เตรียมพร้อมเข้าสู่วัยทองอย่างไร เมื่อรู้เหตุและปัญหาของ “วัยทอง” แล้ว ก็ควรที่จะเตรียมร่างกาย จิตใจ และการเริ่มต้นไม่ใช่เพียงมาเริ่มเอาเมื่ออายุ 40 ปี หรือ เฉียดๆ จะเป็นวัยทอง แต่ควรจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ถ้าจะคิดเริ่มเอาเมื่ออายุ 30 40 ก็ยังไม่สายเกินไปนัก เพียงแค่หาก เปรียบเทียบการเดินข้ามสะพานไม้แคบๆ คนหนุ่มสาวมักจะเดินทรงตัวได้ดีกว่าคนที่อายุมากแล้วก็เท่านั้นเอง การฝึกบุคลิกภาพ ฝึกจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง จะช่วยลดปัญหาสภาพจิตใจแปรปรวนได้ รู้จักวิธีผ่อนคลาย จัดการกับความเครียด เพราะคนเรายิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งมีขยะอารมณ์เพิ่มเป็นเงาตามตัว หากไม่รู้จักวิธีขจัดจะ กลายเป็นสะสมเมื่อมันทะลักล้นก็จะควบคุมไม่ได้ คนเรารู้จักวิธีคิด วิธีวิเคราะห์ แต่คนเราไม่รู้วิธีหยุดคิด ดังนั้นต้องรู้จักการหยุดคิด ด้วย การนั่งสมาธิ ฝึกชีกง โยคะ ให้ลมหายใจกำหนดอยู่ที่จิตใจ ต่อมาเรื่องสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เจริญเติบโตงอกงามด้วยปุ๋ย ดิน อากาศ น้ำ ดังนั้นเราก็ควรเตรียมความพร้อมด้านนี้ด้วย เช่น อาหาร น้ำ แสงแดด อากาศ ต้องได้รับสิ่งที่ดีมีประโยชน์“วัยทอง” ก็เปรียบเหมือน หนังที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องในช่วงชีวิตของคนเรา ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า วัยหมดประจำเดือนไม่ใช่วัยเริ่มต้นสู่วัยชรา เพราะสตรี วัยนี้ยังคงทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง ดังนั้นอย่าวิตกกับการที่ชีวิตกำลังเข้าสู่ภาวะ “วัยทอง” |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น