ช่วงวันหยุดหลายๆ ท่านคงจะหาเวลาพาครอบครัว หรือคนรัก ไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หลายๆ รูปแบบ ทั้งเที่ยวเหนือหรือล่องใต้ สิ่งหนึ่งที่ควรจะตระเตรียมกันไปพร้อมๆ กับการแพ็คกระเป๋าเดินทาง นั่นคือต้องมั่นใจว่า คุณฟิตสุขภาพให้พร้อมในทริปท่องเที่ยวที่คุณวางแผนไว้ และก็อย่าลืมเตรียมยาติดกระเป๋าเดินทางไปด้วย เพราะจะได้เที่ยวอย่างสบายทั้งใจและกาย นอกจากนั้นคุณยังสามารถนำเคล็ดลับต่อไปนี้ไปใช้ได้ในทุกการเดินทาง
1. ก่อนจะเริ่มเตรียมเดินทาง คุณควรทบทวนตารางการใช้ยากับแพทย์หรือเภสัชกรประจำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องบินข้ามเส้นแบ่งเวลา (Time zones) ด้วยแล้วล่ะก็ ขอแนะนำให้คุณเริ่มรับประทานยาตั้งแต่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนเวลาเลย 2. ควรศึกษาลักษณะภูมิอากาศและโรคประจำถิ่นของประเทศที่คุณวางแผนจะเดินทางไป เพื่อเตรียมยาที่เหมาะสมไว้ยามฉุกเฉิน 3. หากทริปนี้ของคุณจะต้องมีกิจกรรมทางน้ำด้วย คุณควรเตรียมอุปกรณ์อุดหู (Ear drops) ที่จะช่วยป้องกันคุณจากโรคหูน้ำหนวก ซึ่งเกิดจากน้ำเข้าหูแล้วมีเชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตภายในหู จนทำให้เกิดการอักเสบในช่องหู ที่อาจมีอาการบวมแดงและปวดจี๊ดในหู ความสนุกคงหายไปกับการเจ็บปวดอย่างแน่นอน 4. ยาบางชนิดอาจทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดหรือความร้อน คุณควรศึกษาจากฉลากยาหรือสอบถามเพิ่มเติมจากแพทย์/เภสัชกรผู้จ่ายยา เพราะคุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มความหนาของชั้นเมคอัพหรือเพิ่มความแรงของครีมกันแดด 5. ควรเก็บยาให้พ้นจากแสงแดดและความร้อนเพื่อลดการเสื่อมคุณภาพของยา ฉะนั้นที่เก็บยาที่คุณเคยใช้บ่อยบ่อย เช่น กระเป๋าถือ, ท้ายรถ หรือแม้แต่ในถุงมือ ก็จะอาจไม่เหมาะที่จะเก็บยาเลยนะ เพราะยาที่คุณอุตส่าห์พกไป อาจไม่มีคุณสมบัติเป็นยาอีก 6. อย่าเก็บยาไว้ที่กระเป๋าเดินทางอย่างเดียว แต่ควรเก็บไว้ใกล้มือ สะดวกหยิบใช้มากที่สุด ทางที่ดีควรจัดแบ่งยาไว้สำหรับการเดินทางออกนอกสถานที่อีกด้วย 7. เตรียมทำบันทึกชื่อยาและขนาดยาที่คุณจำเป็นต้องใช้, หมายเลขโทรศัพท์ของแพทย์ประจำตัว รวมถึงหมายเลขกรมธรรม์เผื่อต้องใช้ยามฉุกเฉิน อย่าลืมนะค่าใช้จ่ายในต่างแดนน่ะ สูงกว่าบ้านเรามาก การจ่ายเอง งบท่องเที่ยวของคุณอาจบานปลายได้ 8. เตรียมชุดยาฉุกเฉินที่จำเป็นทั้งรายชื่อยาและวิธีการใช้ที่คุณอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยามเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเล็กเล็กน้อย เรามีตัวอย่างรายการยาที่คุณควรมีติดกระเป๋าไว้ ประกอบด้วย : - ยาแก้แพ้ สำหรับอาการแพ้ทั้งหลาย - ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน - ยาแก้วิงเวียน เมารถ เมาเรือ - ยาแก้ท้องเสีย - ถ้าคุณต้องมีการว่ายน้ำในทริปนี้ ควรเผื่อยาฆ่าเชื้อแบบหยอดหูไปด้วย - ยาทาฆ่าเชื้อโรค สำหรับแผลสด พร้อมพลาสเตอร์ปิดแผล - ยาหม่อง ใช้ทาเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย - ขี้ผึ้งทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก - ยาปฏิชีวนะที่คุณไม่เคยมีอาการแพ้มาก่อน ควรเตรียมไปให้ควรคอร์สนะ เพื่อป้องกันอาการเชื้อดื้อยา เพราะรับประทานไม่ครบ 9. ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า ควรจัดเตรียมยาใดเป็นพิเศษสำหรับภาวะสุขภาพและเส้นทางการท่องเที่ยวของคุณบ้าง เช่น ปรอทวัดไข้, ครีมกันแดด, ยาประจำตัว เป็นต้น |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น