นับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยเรา เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว โดยค่อยๆ เพิ่มชนิดของวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมโรคสำคัญแทบทุกโรคใน ปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้เด็กๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่างๆ เช่น กาฬโรค,ไข้ ฝีดาษ,โปลิโอ,คอตีบ,ไอกรน,วัณโรค ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคติดต่อเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน บางโรค การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “การระบาด” ผลการระบาดแต่ละครั้งทำให้ผู้ติด เชื้อพิการ และเสียชีวิตจำนวนมาก
ปัจจุบันแทบไม่เคยเห็นโรคเหล่านี้แล้ว ตัวอย่างเช่น โรคคอตีบ ไอกรน อีกทั้งเราแทบไม่เคยเห็นผู้ที่พิการจากโรคโปลิโอใน ปัจจุบัน ยกเว้นก็แต่เด็กที่อยู่ไกลปืนเที่ยงตามชายแดนที่วัคซีนยังเข้าไม่ถึง หรือผู้ที่ติดโรคจากประเทศเพื่อนบ้านตามชายแดนที่ ระบบสาธารณสุขยังไม่เจริญ
ความสำคัญของวัคซีนมีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ วัคซีน ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ คงจะดีแน่ ถ้ามีวัคซีนที่สามารถ ป้องกันการติดเชื้อสำหรับโรคทุกชนิด แต่ในความเป็นจริง การผลิตคิดค้นวัคซีนแต่ละชนิดไม่ใช่ขั้นตอนที่ง่ายนัก ต้องเกิดการ คิดค้นทดลองวิจัยหลายขั้นตอน ต้องนำวัคซีนที่คิดค้นได้ นำมาทดลองใช้ในสัตว์ทดลองจนแน่ใจในความปลอดภัยและ ประสิทธิภาพของวัคซีน จึงนำมาใช้ในคนกลุ่มเล็กๆ ก่อนจะขยายมาใช้ในกลุ่มประชากรกลุ่มใหญ่ขึ้น ก่อนจะนำออกไปใช้ใน ประชาชนทั่วไป จึงค่อนข้างมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่ในโลกขณะนี้
การได้รับวัคซีนถือว่าเป็นปลายทางของการคิดค้น การพัฒนาและการผลิต เพราะถ้าไม่มีวัคซีน ประชากรคงต้องพิการและเสีย ชีวิตจากการติดเชื้อที่รุนแรงหลายๆ ชนิด เพราะโรคบางอย่าง ยาปฏิชีวนะก็ไม่สามารถรักษาได้ หรือยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) อาจ จะฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขความพิการที่เกิดขึ้นได้
วัคซีนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ ดังนั้นอยากให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ตรงนี้ เห็นความสำคัญในการพาลูกหลานไป รับวัคซีนให้ครบตามกำหนด อย่ากังวล ถ้าไปไม่ทันตามนัด เพราะวัคซีนทุกอย่างสามารถฉีดได้เมื่อเลยเวลากำหนด ไม่จำเป็น ต้องฉีดตามกำหนด แต่ขอให้ได้รับให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือต้องการข้อมูลของ วัคซีนที่จำเป็นที่ต้องได้รับสามารถปรึกษาแพทย์ได้
เด็กๆ ทุกคนควรจะต้องได้รับวัคซีนตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข (วัคซีนตามตาราง) ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรควัณโรค ตับอัก เสบบี โปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สมองอักเสบเจแปนิส B เพราะโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เป็นอันตรายทำให้เกิดความพิการ และทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนวัคซีนนอกตาราง เช่น วัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ ป้องกันโรคอีสุกอีใส ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีน เหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในแผนของกระทรวงสาธาณสุข สามารถเลือกฉีดได้ตามที่ผู้ปกครองต้องการ โดยสามารถศึกษาข้อมูลได้หรือ ปรึกษาแพทย์ ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ปรึกษากุมารแพทย์ได้
ผู้ที่เกิดก่อนที่มีการใช้วัคซีนภาคบังคับและไม่เคยติดเชื้อเหล่านั้นทางธรรมชาติมาก่อน เพราะเชื้อโรคที่อยู่ในธรรมชาติพลอยลด ลงจากผลของการให้วัคซีนกันอย่างกว้างขวาง จึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคเหล่านั้น อีกทั้งปัจจุบันมีการค้นพบ วัคซีนใหม่ๆ สำหรับเด็กโตและผู้สูงอายุ วัคซีนจึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้เฉพาะเด็กเล็กอีกต่อไป หากยังมีวัคซีนสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ ประกอบด้วยวัคซีนหลายชนิด ดังต่อไปนี้...
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Diphtheria-Tetanus-Pertussis Vaccine ; DTP) ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนรวมคอตีบ ไอกรน บาดทะยักมาก่อน ควรฉีดวัคซีนรวมชนิดสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ (dTap) ซึ่งผลิตขึ้นมา เพื่อลดผลข้างเคียงของวัคซีนนี้ โดยลดขนาดของวัคซีนคอตีบลงและใช้วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Acellular pertussis) แนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีทารกแรกคลอดในบ้าน หญิงเพิ่งคลอดลูกที่ต้องดูแลทารกหลังคลอด เพื่อป้องกันการติด เชื้อเหล่านี้ในเด็กทารกที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ส่วนหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีบาดแผลหรือทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยักที่ไม่เคย ฉีดวัคซีนนี้มาก่อน ควรรับวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยักชนิดสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ (dT) โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้ง แรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งมีอัตราป่วยตายสูง ส่วนผู้ที่เคยฉีดวัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน ให้ฉีดต่อจนครบ 3 ครั้ง แล้วกระตุ้นทุก 10 ปี
วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-Mumps-Rubella Vaccine ; MMR) โดยปกติผู้ที่เคยฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีก เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ตลอด ชีวิต แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ควรได้รับ วัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน ควรได้รับวัคซีนหัดเยอรมันหรือ วัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูมอย่างน้อย 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 3 เดือนหลังฉีดวัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส งุสวัด (Varicella Vaccine ) อีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรงในเด็กเล็ก แต่การติดเชื้อในหญิงมีครรภ์ช่วงก่อนคลอดอาจเป็นอันตรายต่อทารกแรกคลอด เพราะ การติดเชื้อในทารกแรกคลอดมักมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและมีอัตราเสียชีวิตสูง ส่วนอีสุกอีใสในผู้ใหญ่อาจมีอาการรุนแรงและ มีภาวะแทรกซ้อนได้ วัคซีนอีสุกอีใสสามารถป้องกันโรคได้ประมาณ 90% ส่วนอีก 10% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสเป็นโรคได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงอย่างการติดเชื้อทางธรรมชาติ อีกทั้งวัคซีนยังลดการเกิดโรคงูสวัดและอาการปวดเส้นประสาทหลังเป็น งูสวัด (post-herpetic neuralgia) ได้ด้วย จึงควรฉีดในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดมาก่อน โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน ผู้ที่สัมผัสโรคควรฉีดวัคซีน ภายใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสโรค จึงป้องกันได้ หากเกิน 5 วันไม่สามารถป้องกันโรคแต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatiits A Vaccine )
โรคนี้ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ในอดีตที่สุขอนามัยยังไม่ดี คนไทยส่วนใหญ่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งมักมี อาการไม่รุนแรง จึงมีภูมิต้านทานโรคตั้งแต่เด็ก แต่ในปัจจุบันที่สุขอนามัยดีขึ้น อาจติดเชื้อเมื่อเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ซึ่งมักมี อาการรุนแรงกว่าติดเชื้อแต่เด็ก การระบาดมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสในอาหารจากแม่ครัวในระหว่างการเตรียมอาหาร ผู้ที่ ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่คือวัยรุ่นที่เกิดก่อนวัคซีนภาคบังคับ หรือผู้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่คาดว่าน่าจะยังไม่ เคยติดเชื้อโดยธรรมชาติมาก่อน ควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีอาชีพประกอบ อาหาร หรือผู้อาศัยอยู่ในที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 6-12 เดือน เชื่อว่าจะมีภูมิคุ้มกันนานเกิน 10 ปี
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatiits B Vaccine )
ไวรัสตับอักเสบบีอาจทำให้ตับอักเสบรุนแรงจนเกิดภาวะตับล้มเหลว คนที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งเมื่อหายจากตับอักเสบอาจกลายเป็น พาหะของโรค โดยสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางสารคัดหลั่ง เช่น ทางเพศสัมพันธ์ จากแม่สู่ลูกขณะคลอด ทางการให้เลือด หรือ การใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา เข็มที่ใช้ในการสัก มีดโกน แปรงสีฟัน ฯลฯ อีกทั้งผู้ที่เชื้ออยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในอนาคต จึงควรฉีดวัคซีนในผู้ที่ยังไม่เคยติดเชื้อและผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ คนใกล้ชิดผู้ที่เป็นพาหะ ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ฯลฯ โดยวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน หากเคยฉีดวัคซีน มาก่อนแต่ไม่ครบ 3 ครั้ง สามารถฉีดเข็มต่อไปได้เลย การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ ภูมิต้านทานอาจเกิดขึ้นได้ไม่ดีเท่าการฉีดในเด็ก อาจต้องฉีดกระตุ้นครั้งที่ 4 และมีบางคนที่ไม่ตอบสนองต่อวัคซีน ซึ่งพบประมาณ 1-3% ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ แม้ระดับ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น แต่เมื่อได้รับเชื้อเข้ามาในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองอย่างรวดเร็วจนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine ) ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ได้แก่ บุรุษไปรษณีย์ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโรคพิษสุนัขบ้า คนเลี้ยงสุนัข ผู้ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่โรคนี้ชุกชุมมีโอกาสสัมผัสเชื้อโดยไม่รู้ตัวสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัด หรืออยู่ในที่ที่ไม่สามารถ เข้าถึงการรักษาอย่างถูกต้องหลังสัมผัสโรค ฯลฯ โดยฉีด 3 ครั้ง ในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28 ทำให้มีภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันโรค เมื่อสัมผัสโรคโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งเมื่อสัมผัสโรคก็รักษาง่ายกว่า คือฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 1-2 ครั้งก็เพียงพอและไม่จำเป็นต้อง รักษาด้วยเซรุ่ม (rabies immunoglobulin) ซึ่งมีราคาแพงและมีโอกาสแพ้สูง ส่วนผู้ที่สัมผัสเชื้อ เช่น ถูกสัตว์กัด และไม่เคยได้ รับวัคซีนมาก่อน ฉีดได้ 2 วิธี คือฉีดเข้ากล้าม 5 ครั้ง ในวัน 0, 3, 7, 14 และ 30 หรือฉีดใต้ผิวหนัง 2 จุด 4 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7 และ 30
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine ) โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดและหายใน 5-7 วัน แต่การติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจเรื้อรัง ฯลฯ อาจมีอาการรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้มีอัตราการ เสียชีวิตสูง จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปี) ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคหัวใจ โรคเบา หวาน โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ เด็กเล็ก ฯลฯ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดในผู้ที่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้มีความเสี่ยงสูง ได้ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ หรือดูแลเด็กเล็กในสภานรับเลี้ยงเด็ก ฯลฯ แนะนำให้ฉีดทุกปี เนื่องจาก เชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง ช่วงก่อนมีการระบาดในประเทศไทย มักระบาด 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝนและช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง เนื่องจากไข่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
วัคซีนนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Vaccine ) เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ฯลฯ โดยเฉพาะ การติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุกล้ำ (Invasive pneumococcal disease ; IPD) ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปัจจุบันเชื้อโรคนี้ดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็น ปัญหาในการรักษา อีกทั้งมีอัตราเสียชีวิตสูง การฉีดวัคซีนเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อรุนแรงในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่ไม่มีม้าม ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี) ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคไต เรื้อรัง โรคตับแข็ง กะโหลกศีรษะร้าวจนมีการรั่วของน้ำไขสันหลังออกมาทางจมูก ฯลฯ ในผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนชนิด 23-valent polysaccharide pneumococcal vaccine ซึ่งผลิตจากเชื้อนิวโมคอคคัสจำนวน 23 กลุ่มสายพันธุ์ (serotype) โดยฉีดเพียงครั้ง เดียว แต่อาจฉีดกระตุ้นอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก 3-5 ปี
วัคซีนป้องกันไวรัสหูด (Human Papillomavirus Vaccine )
ไวรัสหูดเป็นเชื้อที่ติดต่อได้โดยทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ (type) 6 และ 11 เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ที่ อวัยวะเพศ นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสหูดสายพันธ์ต่างๆ อีกหลายสายพันธ์ที่บริเวณปากมดลูก เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูก ถึง 99% ที่สำคัญ คือไวรัสหูดสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุ 70-75% ของมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสหูด สายพันธุ์ 16 และ 18 ส่งผลให้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70-75% วัคซีนมี 2 ชนิด คือชนิดที่ป้องกันไวรัสหูด 2 สาย พันธุ์ คือสายพันธุ์16,18 และชนิดที่ป้องกันไวรัสหูด 4 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18 ซึ่งสามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 90% ด้วย แนะนำว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสหูดในเด็กหญิง ก่อนที่จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ อายุประมาณ 10-12 ปี ขึ้นไป ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธุ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ โดยฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1-2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่ใช้ฉีดเมื่อเดินทางไปยังพื้นที่ที่สุขอนามัยไม่ดี หรือมีโรคนั้นๆ ชุกชุม ได้แก่ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal vaccine) วัคซีนไทฟอยด์ (Typhoid vaccine) วัคซีนสมองอักเสบอี (Japanese encephalitis vaccine) วัคซีน ไข้เหลือง (Yellow fever vaccine) วัคซีนอหิวาตกโรค (Cholera vaccine) ซึ่งเลือกฉีดเป็นกรณีๆ ไป
แม้การใช้วัคซีนจะค่อนข้างปลอดภัยและได้ผลดีในการป้องกันโรค ทว่าวัคซีนบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป อาจมี ไข้ต่ำๆ ร้องกวน อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ชัก หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อค (Anaphylactic shock) จึงควรระมัดระวังในผู้ที่มี ประวัติแพ้รุนแรงมาก่อน เช่น ผู้มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนั้นมาก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน เช่น แพ้ยีสต์ ไข่ไก่ ผู้ที่แพ้ neomycin, streptomycin, polymyxin B, erythromycin, kanamycin, เจลาติน
นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังที่แตกต่างกันไปของวัคซีนแต่ละชนิด เช่น บางชนิดไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์โดยเฉพาะวัคซีนที่มีเชื้อ ตัวเป็น (live vaccine) แม้จะยังไม่มีรายงานวัคซีนชนิดใดมีผลต่อทารกในครรภ์ก็ตาม วัคซีนบางชนิดห้ามใช้ในผู้มีภูมิคุ้มกัน บกพร่อง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อีกทั้งผู้ที่เพี่งได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือด อาจรบกวนการสร้างภูมิต้านทานหลัง ฉีดวัคซีน จึงควรเว้นระยะไปก่อนจนกว่าภูมิต้านทานที่ได้มาจากส่วนประกอบของเลือดลดลงไปแล้ว |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น