ผู้ป่วยโรคคอตีบหรือผู้ติดเชื้อโรคคอตีบที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อที่อยู่ในจมูกหรือลำคอไปสู่ผู้อื่นได้
ระยะฟักตัวของโรคคอตีบ?
ประมาณ 2-5 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคคอตีบติดต่อได้จากน้ำลาย ละอองเสมหะ การไอ จามรดกัน การดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
โรคคอตีบมีอาการอย่างไร?
เริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ต่อมาจะเริ่มมีแผ่นฝ้าสีขาวอมเทาในลำคอ ในรายที่อาการรุนแรงจะมีการ ตีบตันของทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก มีอันตรายถึงตายได้หากเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกตินำไปสู่อาการหัวใจวาย หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ของกล้ามเนื้อตา แขนขา หรือกระบังลมได้โรคคอตีบรักษาอย่างไร?
- รักษาโดย ยาปฏิชีวนะ Penicillin หรือ Erythromycin แบบฉีด หรือแบบรับประทานนาน 14 วัน
- นอกจากยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้ยาทำลาย พิษของเชื้อคอตีบหรือ Diphtheria Antitoxin : DAT แบบครั้งเดียว
- แยกผู้ป่วย (Isolation) เพื่อลดการแพร่กระจายโรค
- หากผู้ป่วยมีอาการอุดกั้นของทางเดินหายใจอาจต้องเจาะคอเพื่อช่วยหายใจ
- หลังจากหายเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบให้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด 3 ครั้ง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการป่วยด้วยโรคคอตีบ เพราะแม้เคยป่วยเป็นคอตีบแล้วก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกหากไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
หากมีคนในบ้านป่วยเป็นโรคคอตีบควรทำอย่างไร?
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกัน
- ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยต้องได้รับยาปฏิชีวนะถึงแม้จะไม่มีอาการป่วย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อคอตีบ
- เฝ้าระวังตนเอง หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยต้องรับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเร็ว
การป้องกันในเด็ก
- เด็กต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และ18 เดือน กระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุครบ 4 ขวบ ต้องฉีดให้ครบ 5 เข็ม
- สรุป คือ เด็กอายุ 1 ปี ได้รับวัคซีนคอตีบครบ 3 dose
เด็กอายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนคอตีบครบ 4 dose
เด็กอายุ 5 ปี ได้รับวัคซีนคอตีบครบ 5 dose - คำแนะนำของ ACIP 2012 แนะนำกระตุ้นทุก 10 ปี
เพื่อปลอดภัยจากโรคคอตีบ
ระวัง! ทุกคนต้องตระหนักรู้อันตรายของโรคคอตีบและงดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่
ระวัง! การใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำร่วมกัน
ระวัง! การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ใช้ช้อนกลาง
ระวัง! หากบุตรหลานรับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
ระวัง! การเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดโดยไม่ป้องกันตนเอง
ระวัง! การใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำร่วมกัน
ระวัง! การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ใช้ช้อนกลาง
ระวัง! หากบุตรหลานรับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
ระวัง! การเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดโดยไม่ป้องกันตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น