วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ทำอย่างไรจึงจะมีอายุที่ยืนยาว และสุขภาพแข็งแรง

อาหารธรรมชาติ ทุกวันนี้บรรดานักวิขาการและปัญญาชนที่หันมารับประทาน " อาหารธรรมชาติ " เลิกบริโภคเนื้อสัตว์โดยสิ้นเชิง ได้ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะความเชื่อถือลัทธิใดๆ แต่เป็นเพราะเหตุผลทางธรรมชาติวิทยาที่ท่านเหล่านั้นค้นพบ แล้วจึงปฏิบัติตามความรู้นั้นด้วยความมั่นใจ เนื้อหาในบทความนี้กล่าวถึงอาหารที่ธรรมชาติได้เอื้ออำนวยแก่มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะสม ถูกต้องตามที่ธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์ต้องการ โดยทำการรวบรวมจากผลการวิจัย และข้อมูลต่างๆทางวิชาการโดยคุณศิริชัย ค้าดี ขอผลบุญกุศลที่เกิดจากวิทยาทานจงมีแด่คุณศิริชัยและครอบครัวตลอดจนทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนี้ เนื่องจากการนำเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอาจส่งผลให้มีผู้อ่านเพิ่มมากขึ้น จึงขอให้ทุกท่านที่เข้ามาศึกษาได้โปรดน้อมใจขอบคุณผู้ที่ทำการค้นคว้า ศึกษา เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย ทุกท่านด้วยเทอญ 1. ทำอย่างไรจึงจะมีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรง หากจะถามว่าใครบ้างอยากอายุสั้น ? ก็คงไม่มีใคร… ทุกคนล้วนอยากมีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้เพราะเป็นยอดปรารถนาอย่างหนึ่งของมนุษย์ ดังจะได้ยินคำอวยพรที่คุ้นหูกันอยู่บ่อยๆว่า "ขอให้อายุมั่นขวัญยืน อย่าได้เจ็บไข้ ขอให้อยู่จนแก่จนเฒ่า" นั่นก็แสดงว่า ทุกคนล้วนไม่อยากเจ็บก่อนตาย ไม่อยากตายก่อนแก่ คนเราแม้จะมีเงินทองมากมายล้นฟ้าเหลือคณานับ แต่ถ้าอายุสั้นเสียแล้วจะมีความหมายอะไรเล่า ถ้าหากอายุยืนยาวแต่กลับเต็มไปด้วยโรคภัยมาเบียดเบียน เช่นนี้แล้วชีวิตก็คงหาความสุขไม่ได้ โรคภัยไข้เจ็บล้างผลาญเงินทองและทำลายความสุขในชีวิตไปจนหมดสิ้น บางคนล้มป่วยคราวเดียวเงินทองที่สะสมมาตลอดชีวิตก็ยังไม่พอที่จะรักษาเยียวยา เพราะฉะนั้นการมีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงจึงเป็นมงคลแก่ชีวิตประการหนึ่งที่ทุกคนมุ่งมั่นปรารถนา อายุเท่าไหร่ล่ะ…จึงจะเรียกว่าเป็นคนที่อายุยืน ? จากการสำรวจอายุเฉลี่ยของคนในแต่ละส่วนของโลกเป็นอย่างนี้ ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศรัสเซีย ผู้คนมีอายุยืนถึง 120 ปี ไม่เพียงแต่พวกเขาจะอายุยืนเท่านั้น ทุกคนยังมีพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ดีอีกด้วย จากรายงานสำรวจพบว่าหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ซึ่งมี อากาศดี แสงแดดดี มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารจำพวก เมล็ดธัญญพืช ผักและผลไม้เป็นหลัก ทุกคนได้ออกกำลังกายด้วยการทำงาน อาหารส่วนใหญ่ของพวกเขาได้มาจากธรรมชาติรอบข้าง เช่น ผักสด ผลไม้ น้ำผึ่งป่า และอื่นๆ การเพาะปลูกผักที่นำมาเป็นอาหารไม่เคยใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยให้สามารถเลี้ยงเป็นอาหาร ทำให้เนื้อสัตว์เป็นของหายากที่ไม่นิยมบริโภคกันเลยตั่งแต่บรรพบุรุษมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายในหมู่บ้านนี้จะรู้สึกโศกเศร้าเสียใจมาก หากว่ามีผู้เสียชีวิตลงในขณะที่มีอายุ 80 - 90 ปี พวกเขาจะพากันกล่าวว่า " โถ…ช่างอายุสั้นจริงๆ " ที่เมืองฮันซ่าซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของอินเดียและปากีสถาน ชาวเมืองนี้รับประทานแต่อาหารมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เลยสืบต่อกันมาเป็นพันๆปีแล้ว แต่ทว่าความเป็นอยู่ในการเพาะปลูกเริ่มมีผลกระทบจากมลภาวะของสิ่งแวดล้อมตามแบบชุมชนเมือง มีการใช้วิทยาการต่างๆเช่น ใส่ปุ๋ยเคมี และพ่นยาฆ่าแมลงในการเกษตร ดังนั้นจึงพบว่าอายุเฉลี่ยของคนเมืองนี้ลดลงเหลือประมาณ 90 - 100 ปีเท่านั้น แต่ครั้นคณะสำรวจได้เดินทางไปยังแถบขั้วโลกเหนืออันเป็นที่อยู่ของชาวเอสกีโม ทุกคนก็ต้องพากันประหลาดใจเมื่อพบว่าผู้คนที่นั่นมีอายุไม่เกิน 40 ปี ! ร่างกายของพวกเขาทรุดโทรมต้องป่วยเป็นโรคต่างๆมากมาย มีรูปร่างแคระแกรนสุขภาพไม่แข็งแรง อายุเฉลี่ยของคนในหมู่บ้านนี้เพียง 27 ปีครึ่งเท่านั้น คณะสำรวจพบว่าลักษณะภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งทั้งหมด และอากาศซึ่งหนาวจัดเป็นเหตุให้ไม่สามารถเพาะปลูกพืชผักชนิดใดได้เลย ชาวบ้านทั้งหมดต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ ดังนั้นอาหารหลักที่ต้องบริโภคไปตลอดชีวิต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทุกประเภท ล้วนได้มาจากสัตว์ร่างกายและผิวหนังของพวกเขาไม่มีโอกาสได้รับแสงแดดเลย เราลองหันมาดูข้อมูลสถิติอายุของคนในทวีปเอเซียดูบ้าง พบว่าอายุเฉลี่ยของคนเอเซียอยู่ในระหว่าง 50 - 60 ปี และส่วนใหญ่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ไม่ว่าหญิงหรือชาย มักจะเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไขข้อ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และอื่นๆ จากการสำรวจพบว่า ในทวีปเอเซียแม้ภูมิประเทศจะอุดมสมบูรณ์ดี มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แต่ทว่าในการเพาะปลูก เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากจนน่ากลัว น้ำและอากาศในแหล่งชุมชนเมืองมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น อาหารหลักของประชากรส่วนใหญ่เป็นอาหารพืชผักและเนื้อสัตว์ในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน พบว่าอายุเฉลี่ยของคนในเมืองสั้นกว่าผู้คนที่อยู่ในชนบท อาหารของคนในชนบทโดยมากเป็นพืชผักผลไม้และมีโอกาสบริโภคเนื้อสัตว์กันน้อย แต่แม้ว่าชาวชนบทจะสามารถปลูกพืชผักต่างๆได้เองแต่พวกเขาก็ไม่ได้บริโภคให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ดังนั้นชาวชนบทจำนวนไม่น้อยจึงยังคงเป็นโรคขาดสารอาหาร และเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆเมื่ออายุย่างเข้าวัยกลางคน จากตัวอย่างดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายพากันฉงนสงสัยว่า ทำไมยิ่งนานวันวิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้น แต่อายุของคนกลับถดถอยสั้นลงเรื่อยๆ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อายุของคนในแต่ละถิ่นไม่เท่ากัน มีสุขภาพดีเลวต่างกัน ทำอย่างไรจึงจะมีอายุที่ยืนยาวและสุขภาพที่แข็งแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น