“ห้ามชิงสุกก่อนห่าม”
“รักแท้ต้อง อิงผู้ใหญ่”
“เข้าตามตรอก...ออกตามประตู”
ที่กล่าวมานั้น เป็นสุภาษิตสอนหญิงที่สอนให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว สอนให้ผู้ชาย
รู้จัก ให้เกียรติสตรีและเห็นคุณค่าของค่าน้ำนมของแม่ฝ่ายผู้หญิง นอกจากนี้ยังเป็น
การ ป้องกันไม่ให้ผู้หญิงต้องทนทุกข์จากความรักอันจอมปลอมเพราะถ้าฝ่ายชายมี
ความ รักแท้จริงแล้วจะต้องรวบรวมความกล้าเข้าไปพบกับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง เพื่อขอ
อนุญาต ในการคบลูกสาวบ้านนี้ในฐานะคนรักจากผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง
แม่ชี ทศพร กล่าวว่าเดี๋ยวนี้พอเด็กๆ โตเป็นวัยรุ่นก็เริ่มมีความรัก สนอกสนใจเพศ
ตรงข้าม มีแฟนก็อยากจะอยู่ใกล้ชิดซึ่งกันและกัน บางคนก็ชิงสุกก่อนห่าม มีความ
สัมพันธ์กันระหว่างที่ยังเรียนหนังสืออยู่ โดยที่พ่อแม่ไม่รู้เรื่อง ซึ่งสุภาษิตโบราณแบบ
นี้กลายเป็นคำสอนที่ใช้ ไม่ได้แล้ว
หัวอกของผู้เป็นพ่อแม่ย่อมรักและห่วงใยลูกเป็นธรรมดา กว่าแม่จะเลี้ยงดูลูกสาว
ให้เติบโตเป็นกุลสตรีที่มีคุณสมบัติของผู้หญิง ที่ดี เพียบพร้อมไปด้วยปัญญา มีมารยาท
จิตใจโอบอ้อมอารี อ่อนโยน รู้จักคิด มีความเข้มแข็ง สามารถเอาตัวรอดและเลี้ยงดู
ตนเองได้ในสังคม ยุคนี้ นับเป็นเรื่องที่ยากเอาการ ดังนั้นบ้านใดมีลูกสาว ผู้เป็นพ่อแม่
ก็ยิ่งห่วงใยมากเป็นพิเศษ เพราะลูกสาวได้แต่งงานออกเรือนได้สามีที่ดีรักทะนุถนอม
เป็นที่พึ่งพาได้ พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็จะสบายใจคลายความทุกข์
สุภาษิตคำ ว่า “ห้ามชิงสุกก่อนห่าม” จึงเป็นการบอกว่าหากยังไม่ถึงวัยที่สมควรจะ
ออกเรือนหรือยังไม่มีวุฒิ ภาวะในการรับผิดชอบชีวิตเลี้ยงดูครอบครัวได้ก็ยังไม่สมควร
ที่จะแต่งงาน เพราะสังคมไทยแตกต่างไปจากสังคมตะวันตก ที่แม้ลูก ๆจะเติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ แล้วแต่สำหรับในสายตาของพ่อแม่ถึงอย่างไรก็ยังเป็นห่วงลูกอยู่เสมอ และลูก
ก็ เปรียบเสมือนคนในปกครองของผู้เป็นพ่อแม่ นั่นหมายถึงลูกสาวแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่
แต่ถ้าพ่อแม่ยังอยู่และเป็นห่วงใย อาทรต่อชีวิตความเป็นอยู่ของลูกก็แสดงว่า “หญิง
สาวคนนี้ก็ยังเป็นลูกของ พ่อแม่บ้านนี้”
การชิงสุกก่อนห่ามโดยไม่บอกกล่าวพ่อแม่นอกจากจะเป็น เรื่องที่ทำร้ายจิตใจของพ่อแม่แล้วในขณะเดียวกันก็เป็นการผิดศีลข้อที่ ๓ ด้วย เพราะเป็นการพรากลูกสาวหรือมีเพศ สัมพันธ์กับลูกสาวในปกครองของคนอื่นโดยไม่ขออนุญาตนั่นเอง
แม่ ชีทศพร กล่าวว่า “ไม่ได้ห้ามคน ๒ คนไม่ให้รักกัน โยมมีความรักน่ะไม่ได้ผิดหรอก
เรียกว่าคน ๒ คนไปรักกันยังไม่ผิดศีลข้อที่ ๓ แต่จะผิดศีลข้อที่ ๓ ก็ต่อเมื่อพ่อแม่ของ
ฝ่าย หญิงไม่พร้อมที่จะยกลูกสาวให้ไปแต่งงาน ถ้าพ่อแม่ไม่พร้อมให้ แล้วลูกสาวไป
ชิง สุกก่อนห่ามไปแต่งงานถึงเรียกว่าผิดศีลข้อที่ ๓
ความไม่พร้อมของทั้ง ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่จะแต่งงาน มันนำมาซึ่งปัญหาหลาย ๆ
เรื่องทั้งทาง โลก ทางธรรมและกรรม สมมติว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงอนุญาตให้แต่งงานเนื่อง
จาก ความไม่พร้อมในทางการเงินก็เริ่มก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่ก่อนแต่งงานแล้ว
พอจะแต่งงานฝ่ายลูกเขยก็ไม่พร้อม ก็ต้องไปหายืมเงินมาจากคนอื่นเพื่อจะได้มี
เงินจัดงานแต่งงาน โดยยืมเงินมาเป็นแสนบาทเพื่อมาเป็นเงินสินสอดทองหมั้นให้
แม่ยายจะได้ ไม่อายคนอื่น พอแต่งงานเสร็จฝ่ายลูกเขยก็เอาเงินคืนจากแม่ฝ่ายหญิง
แล้ว รับเอาตัวเจ้าสาวไป ทีนี้ลูกสาวของเราก็ต้องไปเป็นคนของเขาทั้งชีวิต หรือบางที
แม่ฝ่ายหญิงไม่อยากจะเห็นลูกสาวตนเองไปลำบากก็คืนเงินที่เป็น เงินสินสอดที่ทาง
ฝ่ายลูกเขยมอบให้ตนเองเอาคืนให้กับลูกสาว
แม่ ชีทศพร บอกว่า ผู้เป็นแม่เจ้าสาวห้ามคืนเงินคืนให้กลับลูกเขย เพราะเงินสินสอดก้อนนี้คืนเงินค่าน้ำนมของแม่เจ้าสาวที่แม่เจ้าสาวจะต้อง เก็บเอาไว้ ถ้าไม่เก็บ ก็ผิดศีลข้อ 3 มันจะส่งผลให้ครอบครัวของลูกสาวเราไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่มีความรุ่งเรือง ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นเพราะการเอาเงินคืนไปให้ลูกเขยก็เหมือนกับทำพิธีกรรม หลอกๆ หลอกผีปู่ย่าตายาย หลอกว่าจะมาขอลูกสาวแต่งงาน วันแรกของการแต่งงานก็เริ่มต้นด้วยความหลอกลวง แล้วชีวิตของคู่สมรสใหม่จะเป็นมงคลได้อย่างไร เพราะหลอกทุกๆคนที่มาร่วมงานตั้งแต่วันที่เป็นมงคลแล้ว ถ้าแม่รักลูกสาวก็จะต้องไม่คืนเงินสินสอด จำเอา ไว้ว่าอย่าทำให้เรื่องนี้เป็นเพียงพิธีกรรมหลอก ถ้าฝ่ายเจ้าบ่าวมีเงินเท่าไรก็ขอให้ทำเท่านั้น เจ้าบ่าวมีเงินเพียง 500 ก็ให้ 500 บาททำอย่างนี้จะดีกว่า ขอให้มีความซื่อสัตย์กับครอบครัวฝ่ายหญิงและตนเอง
ที่สำคัญอีกอย่าง หนึ่งในวันแต่งงาน ฝ่ายเจ้าสาวจะชอบยืมของมาใช้ในวันแต่งงานเช่น
ยืม รองเท้า ยืมชุดแต่งงาน เครื่องประดับ เป็นต้น การหยิบยืมมีความหมายว่าไม่มีการหลุด
หนี้ นี่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรจะรู้ และถ้าคู่สมรสไหนเคยทำอย่างนั้น ก็ให้กลับไป
หาพ่อแม่ของเรา ไปกราบท่านแล้วบอกกับท่านว่าในตอนที่เราได้แต่งงานมีเรือน หาก ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเคยทำความทุกข์ใจอะไรๆไว้กับพ่อกับแม่มา เราขออโหสิกรรมจากท่านทั้งสองคน นี่จึงจะไม่ผิดศีลข้อที่ 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น