วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

10 อันดับ คำที่คนไทยออกเสียงผิดบ่อยที่สุด


อันดับที่ 10 : screen saver (n.)

คำนี้นี่ฟังดูไร้ สาระที่สุดในบรรดาสิบคำแล้วครับ แต่ขอบอกว่าอ่านผิดกันเพียบ ถึงจะเขียนง่ายอ่านง่าย แต่คนก็อ่านผิดกันตรึม เพราะไปอ่านกันว่า “สกรีน เซิฟเวอร์” ซึ่งมันควรจะสะกดว่า screen server แทนสิครับ คำนี้จริงๆอ่านว่า สกรีน เซฟเฟอร์ นะครับ อย่าสับสน saver นะครับ!

อันดับที่ 9 : effort (n.)

เป็นอีกคำที่สร้างความ สับสนให้กับชีวิตนักเรียนสอบเอนท์ครับ เพราะจะไปสับสนกับคำว่า afford (n.) ที่อ่านว่า “อะฟอร์ด” ไม่อ่านว่า แอ๊ฟฟอร์ดนะครับ ออกเสียง f ตัวเดียว อะฟอร์ดนะครับ ซึ่งคำนี้แปลว่า จ่ายไหว, พอมีได้โดยไม่ยากลำบากนัก อะไรทำนองนี้ แต่คำว่า effort นั้นออกเสียงว่า “เอฟเฟิร์ท” ครับ พยางค์หลังออกเสียงสั้นคล้ายกับคำว่า purpose นั่นแหละครับ คำนี้แปลว่า ความมุ่งมานะ พยายาม อุตสาหะ
อันดับที่ 8 : comfortable (adj.)

คำนี้ก็ไม่เชิงผิดหรอกนะ ครับ แต่คนไทยมักจะลงเสียงหนักผิดที่ เพราะตอนเด็กๆ ผมก็ชอบไปหนักเสียงที่พยางค์ที่สองเป็นประจำ เราเลยมักอ่านกันว่า “คอมฟ้อร์ทเทเบิ้ล” กันสนุกปาก แต่อันที่จริง คำนี้ออกเสียงหนังที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์สองแทบไม่ออกเสียง การออกเสียงที่ถูกต้องจึงควรเป็น คั้มฟท์เทเบิ้ล ครับ ... คือมันไม่ “ฟอร์ท” อะครับ มันจะมีเสียง “ฟึ่ท” สั้นๆเบาๆอยู่หลังพยางค์แรกแค่นิดเดียวครับ อ่ะ ลองดูครับ ลองออกเสียงดู คั้มฟท์เทเบิ้ล… อืม เก่งมากครับ

อันดับที่ 7 : fragile (adj.)

มีอยู่วันนึง ขณะกำลังต่อแถวเข้าคิวเช็คอินขึ้นเครื่องบิน จำได้สนิทว่า คนที่อยู่หน้าผมเป็นคุณนายกระบังลมบิลลาบอง บอกกับพนักงานอย่างชัดเจนว่า “ในกระเป๋ามีน้ำหอมนะคะ ห้ามโยนนะคะ เดี๋ยวมันจะแตก ช่วยติดป้ายฟราจิ้วให้ด้วยค่ะ ...” ห๊ะ ... ฟราจิ้ล??? ... อะไรวะ ฟราจิ้ล ... โค้ดลับสายการบินไหนเรอะ พอผมเห็นพนักงานเอาสติ๊กเกอร์แถบสีส้มที่มีรูปแก้วไวน์แตกมาติดเท่านั้นแหละ ถึงได้รู้ว่าคุณนายคนนั้นเค้าหมายถึง fragile ที่แปลว่า เปราะบางครับ คำนี้อ่านว่า แฟรกไจล์ นะครับ ... ฟราจิ้ลนี่เสล่อเด้อๆนางเด่อมากครับ
อันดับที่ 6 : debt (n.)

คำนี้เป็นคำที่อาจารย์สอน วิชา principle of investment ตอนผมเรียนปีสาม สอนเป็นเรื่องแรกๆเลยครับ ... นอกจาก จะสอนว่า debt แปลว่าหนี้สิน ซึ่งอยู่ในสมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน อาจารย์ยังสอนแบบย้ำนักย้ำหนาด้วยครับว่าคำนี้อ่านว่า “เด๊ท” นะคะนิสิต ถ้านิสิตอ่านว่า “เด๊บ” นี่อาจารย์หักคะแนนจิตพิสัยนะคะ ...

อันดับที่ 5 : genre (n.)

ใครที่ใช้โปรแกรม iTunes ต้องเคยเห็นคำนี้กันทุกคนแน่ๆ เพราะมันคำที่ใช้แบ่งประเภทของเพลง เช่น pop / R&B / Classic ไรงี้ ซึ่งถ้าอ่านตรงตามที่เห็น คงอ่านกันว่า “เจนรี่” หรือ “เจนเร่” ใช่มั้ยครับ? ฮ่าๆ... ผมก็เคยอ่านมันว่า “เจอเนอเร่” เหมือนกัน เสล่อเป็นที่สุด คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้อ่านว่า “ชองระห์” ครับ ... คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส เลยอ่านแบบกระแดะแบบนี้ล่ะครับ
อันดับที่ 4 : Purpose (n., v.)

ผมว่าหลายคนสับสนคำนี้กับ คำว่า propose (n.) ที่แปลว่านำเสนอ หรือขอแต่งงาน ซึ่งอ่านออกเสียงว่า “โพรโพ้ส” ตามรูปที่เราเขียนตรงๆ ... หลายคนก็เลยเข้าใจว่า งั้น purpose ก็ต้องอ่านว่า “เพอร์โพส” น่ะสิ... เหมือนจะถูก ... แต่ผิดครับ คำนี้ออกเสียงว่า “เพ้อร์เพิส” พยางค์หลังออกเสียงสั้นครับ

อันดับที่ 3 : Effect (n., v.)

คำนี้คนไทยออกเสียงผิด ประมาณ 99.7% (อีก 0.2% อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก) เพราะเราจะคุ้นเคยกับคำว่า special effect (สเปเชี่ยล เอฟเฟกต์) ใช่มั้ยครับ เจอคำนี้เดี่ยวๆปั๊บ เราก็เอฟเฟกต์กันทันใดเชียว ... คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้คือ “อิ๊เฟกต์” ครับ ออกเสียง f แค่ตัวเดียว ดังนั้น วันหลังไปดูคอนเสิร์ต หรือหนังแล้วก็อย่าออกเสียงเสล่อๆนะครับ “The special effect in Transformer 2 is awesome” สเปเชี่ยลอิเฟกต์ในหนังเรื่องทรานสฟอร์มเมอร์ภาคใหม่:-)เจ๋งเห้ยๆเลยเมิง
อันดับที่ 2 : Error (n.)

ใครอ่านคำนี้ว่า “เออ-เร่อ” บ้างครับ? ยกมือขึ้นเดี๋ยวนี้!!! นั่นไง เพียบเลย... คำนี้ผมอ่านว่า “เออเร่อ” มาจนถึงไม่กี่ปีนี้ถึงจะได้บรรลุธรรมว่ามันผิด! ที่ผ่านๆมา อ่านตามชาวบ้านมาตลอด เออเร่อๆ อ๋อเหรอ เออๆ เหรอๆ เออเร่อๆ... คำนี้คำที่ถูกต้องอ่านว่า “แอ-เร่อะ” ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์สองแทบไม่ต้องออกเสียงเลยครับ ออกเสียงคล้าย” แอ๊ร์...”

อันดับที่ 1 : Value (n., v.)

คำว่า Value ถ้าอ่านออกเสียงแบบถูกต้องจริงๆ ต้องอ่านว่า “แฟยิ่ว” ครับ อันนี้ยืนยันจากประสบการณ์ตรงได้ว่า ถ้าอ่านว่า “แวลู่” ฝรั่งมันงงจริงๆ พยางค์หลัง พยัญชนะต้นคือตัว U ไม่ใช่ตัว L นะครับ ฟังดูกระแดะมากๆ แต่ถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องยอมกระแดะครับ เราต้องอดทนเพื่อความถูกต้อง!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น