พื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
ภูมิอากาศ มี 3 แบบ คือ
แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ)
แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ)
แบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ)
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)
พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง
อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง
ป่าสงวน 156 แห่ง
เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง
รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล
นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
เพลงชาติและคำขวัญ
ลา มาร์เซยแยส (La Marseillaise) เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า Chant de guerre pour l’armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูรก์เมื่อปี 1792 คำขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
ธงชาติของฝรั่งเศส
แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
วันชาติ
14 กรกฎาคม
ประชากร
ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005)
ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร
เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมือง
เมืองที่มีประชากรมากที่สุดห้าอันดับแรกคือ
การแบ่งส่วนการปกครอง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสประกอบด้วย
1. อาลซัส (Alsace)
2. อากีแตน (Aquitaine)
3. โอแวร์ญ (Auvergne)
4. บัส-นอร์ม็องดี (Basse-Normandie)
5. บูร์กอญ (Bourgogne)
6. เบรอตาญ (Bretagne)
7. ซ็องทร์ (Centre)
8. ช็องปาญาร์แดน (Champagne-Ardenne)
9. กอร์ส (คอร์ซิกา) (Corse)
10. ฟร็องช์-กงเต (Franche-Comté)
11. โอต-นอร์ม็องดี (Haute-Normandie)
12. อีล-เดอ-ฟร็องส์ (l‘le-de-France)
13. ล็องก์ด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon)
14. ลีมูแซ็ง (Limousin)
15. ลอแรน (Lorraine)
16. มีดี-ปีเรเน (Midi-Pyrénées)
17. นอร์-ปา-เดอ-กาแล (Nord-Pas-de-Calais)
18. เปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire)
19. ปีการ์ดี (Picardie)
20. ปัวตู-ชาร็องต์ (Poitou-Charentes)
21. พรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ (Provence-Alpes-Cóte d’Azur)
22. โรนาลป์ (Rhóne-Alpes)
การปกครอง
การเมืองการปกครอง ระบบการปกครอง- ประชาธิปไตยในรูปแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)
เงินตราฝรั่งเศส : สกุลยูโร (€)
เหรียญ 1€ =100 Cents
- ส่วนที่อยู่บนภาคพื้นทวีป (แบ่งเป็น 22 มณฑลและ 96 จังหวัด)
- จังหวัดโพ้นทะเล (DOM) 4 จังหวัดได้แก่ กัวเดอลูป มาร์ตินิก เฟรนช์เกียนาและลา เรอูนียง
- ดินแดนโพ้นทะเล (TOM) 5 แห่งได้แก่ เฟรนช์ โปลิเนเซีย, วาลลิสและฟูตูนา, มายอตต์, แซงต์-ปิแอร์-เอต์-มิเกอล็ง, เฟรนช์ เซาเทิร์นและแอนตาร์กติก แทร์ริทอร์รีส์
- ดินแดนที่มีสถานภาพพิเศษอีก 1 แห่งคือ นิวแคลิโดเนีย
ประเทศฝรั่งเศส แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- เทศบาล เป็นองค์การปกครองส่วนที่เล็กที่สุด จำนวนประมาณ 37,000 communes
- จังหวัด เป็นองค์การปกครองขนาดกลาง ในฝรั่งเศสมีจำนวนประมาณ 100 département ซึ่งรวมถึงดินแดนโพ้นทะเล 4 แห่ง คือ Martinique, Guadeloupe, Réunion และ French Guyana
มณฑล เป็นองค์การปกครองที่ใหญ่ที่สุด ประเทศฝรั่งเศสมีทั้งสิ้น 26 แคว้น ประกอบด้วย (1) ภาคพื้นทวีปยุโรป (Metropolitan France) 22 แคว้น (regions) ได้แก่
1. อาลซัส (Alsace)
2. อากีแตน (Aquitaine)
3. โอแวร์ญ (Auvergne)
4. บัส-นอร์ม็องดี (Basse-Normandie)
5. บูร์กอญ (Bourgogne)
6. เบรอตาญ (Bretagne)
7. ซ็องทร์ (Centre)
8. ช็องปาญาร์แดน (Champagne-Ardenne)
9. กอร์ส (คอร์ซิกา) (Corse)
10. ฟร็องช์-กงเต (Franche-Comté)
11. โอต-นอร์ม็องดี (Haute-Normandie)
12. อีล-เดอ-ฟร็องส์ (l‘le-de-France)
13. ล็องก์ด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon)
14. ลีมูแซ็ง (Limousin)
15. ลอแรน (Lorraine)
16. มีดี-ปีเรเน (Midi-Pyrénées)
17. นอร์-ปา-เดอ-กาแล (Nord-Pas-de-Calais)
18. เปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire)
19. ปีการ์ดี (Picardie)
20. ปัวตู-ชาร็องต์ (Poitou-Charentes)
21. พรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ (Provence-Alpes-Cóte d’Azur)
22. โรนาลป์ (Rhóne-Alpes)
การปกครอง
การเมืองการปกครอง ระบบการปกครอง- ประชาธิปไตยในรูปแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)
เงินตราฝรั่งเศส : สกุลยูโร (€)
เหรียญ 1€ =100 Cents